วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยา)
- Bachelor of Science (Biology)
ชื่อย่อ
- วท.บ. (ชีววิทยา)
- B.Sc. (Biology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
122 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยา เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตซึ่งสามารถเข้าใจกระบวนการของชีวิตตั้งแต่ระดับโมเลกุลจนถึงระดับชีวมณฑล ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีความเป็นหนึ่งเดียว มีทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถทำการวิจัยเบื้องต้นและเขียนรายงานทางวิชาการได้ มีคุณธรรมและจริยธรรมและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี หลักสูตรได้จัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (progressivism) คือการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พัฒนาจากความต้องการของผู้เรียนผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง มีการลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนและมุ่งเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การจัดการศึกษาได้มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ (outcome based education) โดยจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (active learning) ที่หลากหลาย เช่น การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ ( problem-based learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (project-based learning) การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (case-based learning) การเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (research-based learning) การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (activity-based learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (service learning) โดยยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 ประยุกต์ความรู้ทางชีววิทยาเพื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในภาคใต้
- PLO2 ปฏิบัติงานโดยเลือกใช้สารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม
- PLO3 ให้ความคิดเห็น และ/หรือข้อเสนอแนะทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานความรู้ชีววิทยาได้อย่างถูกต้อง
- PLO4 สามารถสื่อสารและนำเสนองานทางชีววิทยาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
- PLO5 ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณทางวิชาการและระเบียบขององค์กร
- PLO6 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการหาความรู้ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเรียนรู้ตลอด ชีวิต
- PLO7 สามารถทำงานเป็นทีม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและแสดงถึงการมีภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดี
- PLO8 แสดงออกถึงการมีความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบและถือประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
122
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์
4
หน่วยกิต
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ
5
หน่วยกิต
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ
1
หน่วยกิต
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทัน และการรู้ดิจิทัล
4
หน่วยกิต
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข
4
หน่วยกิต
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา
2
หน่วยกิต
วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
86
หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
26
หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ
74
หน่วยกิต
แผนปกติ
48
หน่วยกิต
– วิชาแกน
15
หน่วยกิต
– วิชาเฉพาะ
33
หน่วยกิต
แผนสหกิจศึกษา
51
หน่วยกิต
– วิชาแกน
15
หน่วยกิต
– วิชาเฉพาะ
36
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือก
– แผนปกติ
12
หน่วยกิต
– แผนสหกิจศึกษา
9
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยา)
- Bachelor of Science (Biology)
ชื่อย่อ
- วท.บ. (ชีววิทยา)
- B.Sc. (Biology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
130 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
ผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาชีววิทยาสามารถเข้าใจกระบวนการของชีวิตตั้งแต่ระดับโมเลกุลถึงระดับชีวมณฑล ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีความเป็นหนึ่งเดียว มีทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถทาการวิจัยเบื้องต้นและเขียนรายงานทางวิชาการได้ มีคุณธรรมและจริยธรรม และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา และอดทน
- ปฏิบัติตนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง และพหุวัฒนธรรม
- ประยุกต์ทฤษฎีทางชีววิทยามาอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางบกและทางทะเล
- บูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และสังคมเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางชีววิทยา
- ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- สร้างงานวิจัยเพื่อตอบคำถามและแก้ปัญหาทางชีววิทยา
- ค้นคว้าความรู้ทางชีววิทยาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
- ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดี
- สื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งใช้รูปแบบการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
130
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์
4
หน่วยกิต
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ
5
หน่วยกิต
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ
1
หน่วยกิต
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทัน และการรู้ดิจิทัล
4
หน่วยกิต
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข
4
หน่วยกิต
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา
2
หน่วยกิต
วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
94
หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
26
หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ
แผนปกติ
55
หน่วยกิต
– วิชาแกน
15
หน่วยกิต
– วิชาเฉพาะ
40
หน่วยกิต
แผนสหกิจศึกษา
58
หน่วยกิต
– วิชาแกน
15
หน่วยกิต
– วิชาเฉพาะ
43
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือก
10-13
หน่วยกิต
– แผนปกติ
13
หน่วยกิต
– แผนสหกิจศึกษา
10
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด