วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
- Bachelor of Science (Information and Communication Technology)
ชื่อย่อ
- วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
- B.Sc. (Information and Communication Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
127 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีทักษะในการจัดการและประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การออกแบบ การจัดการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการพัฒนางานประยุกต์ และสามารถนำเสนอข้อมูลอย่างตรงประเด็น โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นคว้าและแก้ปัญหาด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริงทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน อีกทั้งส่งเสริมและพัฒนาการมีความคิดสร้างสรรค์ในเชิงบูรณาการที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะให้ทันต่อเหตุการณ์กับความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสามารถประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อได้ในอนาคต ตลอดถึงมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันตามมาตรฐานสมรรถนะที่กำหนด
- PLO2 สามารถออกแบบแอปพลิเคชันตามมาตรฐานสมรรถนะที่กำหนดเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันและระบบ
- PLO3 สามารถจัดการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นระบบ
- PLO4 สามารถพัฒนานวัตกรรมระดับงานประยุกต์ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการพัฒนางานแอปพลิเคชัน
- PLO5 สื่อสารได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
- PLO6 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ของกลุ่มตามเป้าหมายที่กำหนด
- PLO7 แสดงออกถึงการมีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
127
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์
4
หน่วยกิต
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ
5
หน่วยกิต
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ
1
หน่วยกิต
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทัน และการรู้ดิจิทัล
4
หน่วยกิต
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข
4
หน่วยกิต
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา
2
หน่วยกิต
วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
91
หน่วยกิต
1) วิชาแกนและวิชาพื้นฐาน
25
หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะด้าน
48
หน่วยกิต
– กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ
– กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์
– กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์
– กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ
3) วิชาเลือก
18
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
- Bachelor of Science (Information and Communication Technology)
ชื่อย่อ
- วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
- B.Sc. (Information and Communication Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
129 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และมีทักษะในการจัดการและประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และการโปรแกรม ข้อมูลและสารสนเทศ และพื้นฐานทางทัศนศิลป์ อีกทั้งมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเชิงบูรณาการที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะให้ทันต่อเหตุการณ์กับความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อออกไปประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดถึงมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้ด้วย
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนการเป็นปัญญาชน
- อธิบายหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้
- ประยุกต์ทักษะการคิดคำนวณแบบเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาจริงในชีวิตประจำวันได้
- พัฒนางานเชิงนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง
- แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดชีพ โดยสามารถค้นคว้าความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
- สื่อสารได้ชัดเจนตรงประเด็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทั้งการนำเสนอและการเขียน
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
129
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์
4
หน่วยกิต
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ
5
หน่วยกิต
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ
1
หน่วยกิต
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทัน และการรู้ดิจิทัล
4
หน่วยกิต
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข
4
หน่วยกิต
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา
2
หน่วยกิต
วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
93
หน่วยกิต
1) วิชาแกนและวิชาพื้นฐาน
25
หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะด้าน
50
หน่วยกิต
– กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ
– กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์
– กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์
– กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ
3) วิชาเลือก
18
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด