วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (วัสดุศาสตร์)
- Bachelor of Science (Materials Science)
ชื่อย่อ
- วท.บ. (วัสดุศาสตร์)
- B.Sc. (Materials Science)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
120 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการปฏิบัติงานทั้งในและนอกห้องเรียน ให้สามารถเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจถึงทฤษฎีทางด้านวัสดุศาสตร์ การหาลักษณะเฉพาะและการศึกษาสมบัติของวัสดุ โดยสามารถนำความรู้จากภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางด้านวัสดุ มาประมวลผล วิเคราะห์ผล สังเคราะห์ผล ประยุกต์ใช้และบูรณาการ ตลอดจนสามารถอธิบายผลเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรมและเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และมีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะประกอบอาชีพและศึกษาต่อในระดับสูงได้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 ใช้ความรู้ทางวัสดุศาสตร์ในการแก้ปัญหาทางอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวกับวัสดุประเภทต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
- Sub PLO1.1 อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่สัมพันธ์กับวัสดุศาสตร์
- Sub PLO1.2 อธิบายโครงสร้างและพฤติกรรมของวัสดุโลหะ/เซรามิก/พอลิเมอร์/วัสดุผสมได้อย่างถูกต้อง
- Sub PLO1.3 อธิบายสมบัติทางกล/ความร้อน/แสง/ไฟฟ้า/แม่เหล็กของวัสดุประเภทต่าง ๆ ได้อย่าง ถูกต้อง
- Sub PLO1.4 อธิบายกระบวนการผลิตวัสดุประเภทต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
- PLO2 ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- Sub PLO 2.1 ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และมีความซื่อสัตย์
- Sub PLO 2.2 ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณทางวิชาการและข้อกำหนดขององค์กร
- PLO3 ปฏิบัติตนตามบทบาทและหน้าที่ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยอาศัยทักษะการบริหารจัดการและการสื่อสาร
- PLO4 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
- Sub PLO 4.1 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั่วไปได้อย่างเหมาะสม
- Sub PLO 4.2 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับทักษะอาชีพได้อย่างเหมาะสม
- PLO5 ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทางวัสดุศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
- PLO6 เลือกใช้วัสดุประเภทต่าง ๆ ได้เหมาะสมกับลักษณะงาน
- PLO7 แสวงหาความรู้ คิดวิเคราะห์ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองบนพื้นฐานของความรู้เท่าทัน
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
120
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์
4
หน่วยกิต
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ
5
หน่วยกิต
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ
1
หน่วยกิต
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทัน และการรู้ดิจิทัล
4
หน่วยกิต
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข
4
หน่วยกิต
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา
2
หน่วยกิต
วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
84
หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
22
หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ
2.1) แผนการศึกษาปกติ
38
หน่วยกิต
2.2) แผนสหกิจศึกษา
41
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือก
3.1) แผนการศึกษาปกติ
24
หน่วยกิต
3.2) แผนสหกิจศึกษา
21
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (วัสดุศาสตร์)
- Bachelor of Science (Materials Science)
ชื่อย่อ
- วท.บ. (วัสดุศาสตร์)
- B.Sc. (Materials Science)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
135 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจถึงทฤษฎีพื้นฐาน การตรวจลักษณะเฉพาะและการศึกษาสมบัติของวัสดุ โดยสามารถนำความรู้จากภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางด้านวัสดุศาสตร์ เคมี และฟิสิกส์ มาประมวลผล วิเคราะห์ผลและสังเคราะห์ผล ตลอดจนสามารถอธิบายผลเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีความรู้และความสามารถทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ และมีความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประกอบอาชีพและศึกษาต่อในระดับสูงได้ รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรมและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- อธิบายและจำแนกวัสดุเซรามิกส์ โลหะ และพอลิเมอร์ในเชิงกระบวนการผลิต โครงสร้าง และสมบัติได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
- ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- ปฏิบัติตนตามบทบาทและหน้าที่ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยอาศัยทักษะการบริหารและการสื่อสาร
- เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ประยุกต์ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทางวัสดุศาสตร์
- แก้ปัญหาทางด้านวัสดุศาสตร์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- แสวงหาความรู้และพัฒนากระบวนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลทางวัสดุศาสตร์อย่างเป็นระบบ
- วางแผนและออกแบบกระบวนการวิจัยทางวัสดุศาสตร์
- บูรณาการความรู้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และวัสดุศาสตร์
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
135
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์
4
หน่วยกิต
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ
5
หน่วยกิต
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ
1
หน่วยกิต
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทัน และการรู้ดิจิทัล
4
หน่วยกิต
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข
4
หน่วยกิต
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา
2
หน่วยกิต
วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
93
หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาพื้นฐาน
26
หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ
2.1) แผนการศึกษาปกติ
51
หน่วยกิต
2.2) แผนสหกิจศึกษา
54
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือก
3.1) แผนการศึกษาปกติ
22
หน่วยกิต
3.2) แผนสหกิจศึกษา
19
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด