วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์)
- Bachelor of Science (Mathematics)
ชื่อย่อ
- วท.บ. (คณิตศาสตร์)
- B.Sc. (Mathematics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
130 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาและการให้เหตุผลที่ถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์ สามารถแก้ปัญหาและนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ หรือบูรณาการร่วมกับศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียนรู้จากสถานการณ์จริงที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ตลอดจนสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง รวมทั้งมีศาสตร์และศิลป์ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ มีปณิธานในการช่วยเหลือผู้อื่นและรับใช้สังคม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 เขียนบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่ไม่ซับซ้อนได้
- PLO2 บูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์
- เพื่อปรับปรุงทฤษฎีทางคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น หรือ
- เพื่อใช้ในการจัดการหรือแก้ปัญหาทางด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ หรือ
- เพื่อปรับปรุงระเบียบวิธีหรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการสร้างปัญญาประดิษฐ์หรือวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ
- เพื่อสร้างนวัตกรรมการสอนได้
- PLO3 ใช้โปรแกรมเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนหรือตัวแบบทางคณิตศาสตร์ ให้ได้คำตอบที่ถูกต้องและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- PLO4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
- PLO5 สื่อสารและนำเสนอด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและตรงความหมาย
- PLO6 แสดงออกถึงพฤติกรรมที่บอกความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมจิตสาธารณะ และจรรยาบรรณทางวิชาการ
- PLO7 สามารถทำงานเป็นทีม
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
130
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์
4
หน่วยกิต
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ
5
หน่วยกิต
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ
1
หน่วยกิต
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทัน และการรู้ดิจิทัล
4
หน่วยกิต
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข
4
หน่วยกิต
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา
2
หน่วยกิต
วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
94
หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
24
หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน
– หลักสูตรปกติ
33
หน่วยกิต
– หลักสูตรสหกิจศึกษา
36
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน
24
หน่วยกิต
4) กลุ่มวิชาเลือก
– หลักสูตรปกติ
13
หน่วยกิต
– หลักสูตรสหกิจศึกษา
10
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์)
- Bachelor of Science (Mathematics)
ชื่อย่อ
- วท.บ. (คณิตศาสตร์)
- B.Sc. (Mathematics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
135 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาและการให้เหตุผลที่ถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์ สามารถแก้ปัญหาและนาความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง รวมทั้งมีศาสตร์และศิลป์ในการดารงชีวิตอย่างมีความสุข มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ มีปณิธานในการช่วยเหลือผู้อื่นและรับใช้สังคม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม
- มีความซื่อสัตย์สุจริต
- มีระเบียบวินัย
- มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- เคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีจิตสาธารณะและถือประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
- ตระหนักและเห็นคุณค่าความเป็นไทยและความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติ และดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ด้านความรู้
- มีความรู้ในหลักการและทฤษฎีทางด้านวิทยาศาสตร์และ/หรือคณิตศาสตร์
- มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และ/หรือคณิตศาสตร์ที่จะนำไปอธิบายหลักการและทฤษฎีในศาสตร์เฉพาะ/เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์และ/หรือคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
- มีความรอบรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- ด้านทักษะทางปัญญา
- สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีเหตุมีผล ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
- นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ/หรือคณิตศาสตร์ ไปประยุกต์กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- มีความใฝ่รู้ สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่หลากหลายได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์
- สามารถนำความรู้ไปเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อทำความเข้าใจและสร้างสรรค์สังคม
- ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- มีภาวะผู้นำ โดยสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดี
- มีความรับผิดชอบต่อสังคมและองค์กร/พลเมืองไทยและพลเมืองโลก
- สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรที่ไปปฏิบัติงาน
- มีความคิดริเริ่ม สามารถวางแผน และตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
- ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- สามารถประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อการวิเคราะห์ ประมวลผล การแก้ปัญหา และนำเสนอข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
- มีทักษะในการสื่อสารภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเลือกใช้รูปแบบการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
- มีทักษะและความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น เพื่อการค้นคว้าได้อย่างเหมาะสมและจำเป็น
- สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นและเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
135
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์
4
หน่วยกิต
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ
5
หน่วยกิต
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ
1
หน่วยกิต
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทัน และการรู้ดิจิทัล
4
หน่วยกิต
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข
4
หน่วยกิต
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา
2
หน่วยกิต
วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
99
หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
24
หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ
– หลักสูตรปกติ
42
หน่วยกิต
– หลักสูตรสหกิจศึกษา
45
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือก
– หลักสูตรปกติ
33
หน่วยกิต
– หลักสูตรสหกิจศึกษา
30
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด