วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา)
- Bachelor of Science (Microbiology)
ชื่อย่อ
- วท.บ. (จุลชีววิทยา)
- B.Sc. (Microbiology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
136 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
สร้างบัณฑิตระดับปริญญาตรีสาขาวิชาจุลชีววิทยา ที่มีความรอบรู้ทางด้านจุลชีววิทยาทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม และการแพทย์ โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ทางจุลชีววิทยาในการแก้ปัญหชุมชนและสังคม เป็นผู้มีจิตสำนึกสาธารณะ มีคุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 ปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์และรับผิดชอบในหน้าที่ต่อตนเองและสังคม
- PLO2 แสดงออกถึงความเสียสละ มีจิตสาธารณะ
- PLO3 ประยุกต์ใช้ความรู้ทางจุลชีววิทยาในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
- PLO4 ปฏิบัติเทคนิคพื้นฐานทางจุลชีววิทยาได้อย่างถูกต้อง
- PLO5 ปฏิบัติงานตามหลักการคุณภาพห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาได้
- PLO6 เสนอแนวทางแก้ปัญหาทางจุลชีววิทยาเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคมบนพื้นฐานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการได้
- PLO7 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเองได้
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
136
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์
4
หน่วยกิต
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ
5
หน่วยกิต
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ
1
หน่วยกิต
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทัน และการรู้ดิจิทัล
4
หน่วยกิต
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข
4
หน่วยกิต
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา
2
หน่วยกิต
วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
99
หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
26
หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ
– นักศึกษาเลือกเรียนสหกิจศึกษา
55
หน่วยกิต
– นักศึกษาไม่เรียนสหกิจศึกษา
52
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือก
– นักศึกษาเลือกเรียนสหกิจศึกษา ไม่น้อยกว่า
18
หน่วยกิต
– นักศึกษาไม่เรียนสหกิจศึกษา ไม่น้อยกว่า
21
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
ง. ฝึกงาน
1/240
หน่วยกิต/ชั่วโมง
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา)
- Bachelor of Science (Microbiology)
ชื่อย่อ
- วท.บ. (จุลชีววิทยา)
- B.Sc. (Microbiology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
134 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
สร้างบัณฑิตระดับปริญญาตรีสาขาวิชาจุลชีววิทยา ที่มีความรอบรู้ทางด้านจุลชีววิทยาทั้งภาค ทฤษฎี และภาคปฏิบัติที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม และการแพทย์ โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบจากภูมิปัญญาไทยสู่สากล เป็นผู้มีจิตสำนึกสาธารณะ มีคุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- ประพฤติดี
- ถือประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
- มีทักษะทางจุลชีววิทยาที่นำไปสู่การปฏิบัติงานจริง
- คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ต่อยอดองค์ความรู้
- ประยุกต์ความรู้จุลชีววิทยาในการแก้ปัญหาชุมชนและสังคม
- มีทักษะใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
134
หน่วยกิต
สำหรับนักศึกษาที่ไม่เรียนสหกิจศึกษา
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์
4
หน่วยกิต
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ
5
หน่วยกิต
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ
1
หน่วยกิต
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทัน และการรู้ดิจิทัล
4
หน่วยกิต
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข
4
หน่วยกิต
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา
2
หน่วยกิต
วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
97
หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
26
หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ
50
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือก
21
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
ง. ฝึกงาน
1
หน่วยกิต
สำหรับนักศึกษาที่เรียนสหกิจศึกษา
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์
4
หน่วยกิต
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ
5
หน่วยกิต
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ
1
หน่วยกิต
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าพัน และการรู้ดิจิทัล
4
หน่วยกิต
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข
4
หน่วยกิต
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา
2
หน่วยกิต
วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
97
หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
26
หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ
53
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือก
18
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
ง. ฝึกงาน
1
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด