เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อเนื่อง)
ชื่อหลักสูตร
เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อเนื่อง) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- เทคโนโลยีบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
- Bachelor of Technology (Information Technology)
ชื่อย่อ
- ทล.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
- B.Tech. (Information Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
75 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-centered curriculum) และเป็นหลักสูตรบูรณาการที่เน้นประสบการณ์ที่ให้ได้มาซึ่งความรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง (Activities-based curriculum) โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ สอดคล้องกับความเชื่อทางการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) เปิดโอกาสทางการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีพ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 ออกแบบฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสืบค้นข้อมูล
- PLO 2 พัฒนาโปรแกรมประยุกต์หรือสื่อผสมสมัยใหม่ตามความต้องการของผู้ใช้บนเครือข่ายหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่
- PLO 3 ออกแบบและสร้างกรณีทดสอบ สำหรับทดสอบระบบทั้งส่วนโปรแกรมประยุกต์และสื่อผสมสมัยใหม่ได้อย่างถูกต้อง
- PLO 4 สามารถสื่อสารเชิงวิชาการได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
- PLO 5 ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- PLO 6 แสดงออกถึงจรรยาบรรณทางวิชาการ และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมในบริบทความเป็นพหุวัฒนธรรม
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
75
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
18
หน่วยกิต
– วิชาบังคับ
8
หน่วยกิต
– รายวิชากลุ่มสาระภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
– วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
51
หน่วยกิต
1) วิชาเฉพาะพื้นฐาน
18
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
6
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาพื้นฐานทางเทคโนโลยี
12
หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะด้าน
27-30
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาโครงงาน
7
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเทคโนโลยีเฉพาะสาขา
20-23
หน่วยกิต
+ วิชาบังคับ
14-17
หน่วยกิต
+ กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน
6
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือกฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
3-6
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่นไงขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อเนื่อง)
ชื่อหลักสูตร
เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อเนื่อง) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- เทคโนโลยีบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
- Bachelor of Technology (Information Technology)
ชื่อย่อ
- ทล.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
- B.Tech. (Information Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
75-76 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-centered curriculum) และเป็นหลักสูตรบูรณาการที่เน้นประสบการณ์ที่ให้ได้มาซึ่งความรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง (Activities-based curriculum) โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ สอดคล้องกับความเชื่อทางการศึกษาแบบพิพัฒนนิยม (Progressivism)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- วิเคราะห์และออกแบบ รวมถึงจัดการระบบสารสนเทศได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
- พัฒนางานประยุกต์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและทัศนศิลป์ที่ใช้งานได้จริงเพื่อแก้ปัญหาในชุมชนและสังคม
- ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- ปฏิบัติตนตามบทบาทและหน้าที่ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยอาศัยทักษะการบริหารจัดการและการสื่อสาร
- แสวงหาความรู้และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
- บูรณการความรู้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
โครงสร้างหลักสูตร
แบบที่ 1 ไม่ใช่สหกิจศึกษา
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
75
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
18
หน่วยกิต
– วิชาบังคับ
8
หน่วยกิต
– รายวิชากลุ่มสาระภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
– วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
51
หน่วยกิต
1) วิชาเฉพาะพื้นฐาน
18
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
6
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาพื้นฐานทางเทคโนโลยี
12
หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะด้าน
30
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาโครงงาน
6
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเทคโนโลยีเฉพาะสาขา
18
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน
6
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือกฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
3
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แบบที่ 2 สหกิจศึกษา
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
76
หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
18
หน่วยกิต
– วิชาบังคับ
8
หน่วยกิต
– รายวิชากลุ่มสาระภาษาและการสื่อสาร
4
หน่วยกิต
– วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
52
หน่วยกิต
1) วิชาเฉพาะพื้นฐาน
18
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
6
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาพื้นฐานทางเทคโนโลยี
12
หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะด้าน
27
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาโครงงาน
6
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเทคโนโลยีเฉพาะสาขา
18
หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน
3
หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือกฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
7
หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่นไงขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์