ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ชีวเคมี)
- Doctor of Philosophy (Biochemistry)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (ชีวเคมี)
- Ph.D. (Biochemistry)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีมีเป้าหมายเพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการทําปฏิบัติการในศาสตร์ชีวเคมีที่ทันสมัยตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม ทําให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ บนพื้นฐานเหตุและผล สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ มีความเป็นผู้นําทางวิชาการ มีสามารถทํางานและพัฒนางานวิจัยด้านชีวเคมีที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 บูรณาการองคค์วามรู้ทางชีวเคมีและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้องค์ความรู้ทางชีวเคมีและ/หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาโจทย์ทางวิทยาศาสตร์และงานวิจยัทางด้านสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สัตว์น้ำเศรษฐกิจ พืชเศรษฐกิจ หรือการแพทย์และเภสัช
- PLO 2 สร้างองคค์วามรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางชีวเคมีที่ตอบโจทย์ความต้องการในด้านสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สัตว์น้ำเศรษฐกิจ พืชเศรษฐกิจ หรือการแพทย์และเภสัช
- PLO 3 ใช้เครื่องมือพื้นฐาน เครื่องมือที่ทันสมัยและเทคนิคพื้นฐานทางชีวเคมีในการทำปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำ
- PLO 4 สื่อสารเชิงวิชาการได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
- PLO 5 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีโดยสามารถแสดงและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างของผู้อื่นได้
- PLO 6 แสดงออกถึงการมีจริยธรรมทางวิทยาศาสตร์
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
6
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
6
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
18
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
6
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แบบ 1.1
- เป็นผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาชีวเคมี หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 3.0 และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสําหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
- แบบ 1.2
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนดีมาก มีประสบการณ์ในโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีวเคมีและมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสําหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และมีประสบการณ์ในโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีวเคมี หรือ
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องที่มีผลการเรียนดีมาก และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสําหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และมีประสบการณ์ในการทําวิจัยในสาขาชีวเคมีหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
- แบบ 2.1
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.0 และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสําหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
- แบบ 2.2
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนดีมาก หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้น และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่องเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสําหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และมีประสบการณ์ในโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีวเคมีผู้เข้าศึกษาปริญญาเอกต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสําหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แบบ 1.1
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทําวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- สําหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 2 เรื่อง และ
- สอบผ่านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด และ
- นักศึกษาต้องเสนอผลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ต่อที่ประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 ครั้ง
- แบบ 1.2
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทําวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- สําหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 2 เรื่อง และ
- สอบผ่านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด และ
- นักศึกษาต้องเสนอผลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ต่อที่ประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 ครั้ง
- แบบ 2.1
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กําหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทําวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- สําหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 เรื่อง และ
- สอบผ่านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด และ
- นักศึกษาต้องเสนอผลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ต่อที่ประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 ครั้ง
- แบบ 2.2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กําหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทําวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- สําหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 เรื่อง และ
- สอบผ่านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด และ
- นักศึกษาต้องเสนอผลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ต่อที่ประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 ครั้ง
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ชีวเคมี)
- Doctor of Philosophy (Biochemistry)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (ชีวเคมี)
- Ph.D. (Biochemistry)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี มีเป้าหมายผลิตดุษฎีบัณฑิต ที่มีความสามารถและมีความรู้ในสาขาวิชาชีวเคมีระดับสูงและทันสมัย มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ บนพื้นฐานเหตุและผล สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถทำงานและพัฒนางานวิจัยด้านชีวเคมี ซึ่งสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ และมีจรรยาบรรณทางวิชาการ
- ค้นคว้าความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัยจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
- บูรณาการความรู้ทางชีวเคมี ในเชิงลึกได้
- วิเคราะห์ปัญหาทางชีวเคมีหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อคิดค้นองค์ความรู้ใหม่
- สร้างงานวิจัยในสาขาชีวเคมีระดับสากล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และมนุษยชาติ หรือที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรภาคใต้ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
- ถ่ายทอดความรู้ใหม่ที่เกิดจากงานวิจัยในระดับสากล
- ทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและสมาชิกที่ดี ได้อย่างเหมาะสม
- สื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งใช้รูปแบบการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
- ประยุกต์ใช้ความรู้และเทคนิคทางชีวเคมีได้อย่างถูกต้องและเชี่ยวชาญ
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
7
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
5
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
7
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
17
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- หลักสูตรแบบ 1.1
- เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาชีวเคมี หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.0 และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นผู้พิจารณาให้รับเข้าศึกษาหรือรับโอนเข้าศึกษาได้ หรือ
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาชีวเคมี หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.5 และผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นผู้พิจารณาให้รับเข้าศึกษาหรือรับโอนเข้าศึกษาได้
- หลักสูตรแบบ 1.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนดีมาก และมีประสบการณ์ในโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีวเคมี หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาชีวเคมีหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
- หลักสูตรแบบ 2.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ ต่ำกว่า 3.0 และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นผู้พิจารณาให้รับเข้าศึกษาหรือรับโอนเข้าศึกษาได้
- หลักสูตรแบบ 2.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนดีมาก หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้น และมีประสบการณ์ในโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีวเคมี
ผู้เข้าศึกษาปริญญาเอกต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ เรื่องเกณฑ์การสมัครเข้าเรียนปริญญาเอก ส่วนคุณสมบัติอื่น ๆ ให้ไปเป็นตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- สอบผ่านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
- นักศึกษาต้องเสนอผลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ ต่อที่ประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 ครั้ง
- นักศึกษาหลักสูตรแบบ 1 ต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอม รับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- นักศึกษาหลักสูตรแบบ 2 ต้องศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556