ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ชีววิทยา)
- Doctor of Philosophy (Biology)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (ชีววิทยา)
- Ph.D. (Biology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา มีการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา ที่มีความรู้เชิงลึกทางชีววิทยาสามารถบูรณาการความรู้ทางชีววิทยาและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างงานวิจัยที่เป็นมาตรฐานระดับสากล สื่อสารความรู้สู่สาธารณะโดยใช้สื่อรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยเน้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติวิทยาของพืชหรือสัตว์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ด้านเซลล์และพันธุศาสตร์ด้านสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ด้านอนุกรมวิธานและความหลากหลาย และด้านนิเวศวิทยา พร้อมทั้งสามารถติดตามความก้าวหน้าในแขนงวิชาที่สนใจ ตลอดจนเป็นนักวิจัยที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพอันจะนําไปสู่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 บูรณาการความรู้ทางชีววิทยาและศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาทางธรรมชาติวิทยาของพืชหรือสัตว์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- PLO 2 ออกแบบกระบวนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านธรรมชาติวิทยาของพืชหรือสัตว์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- PLO 3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
- PLO 4 สื่อสารและนำเสนอข้อมูลทางวิชาการได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
- PLO 5 แสดงออกถึงการมีจรรยาบรรณทางวิชาการและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
- PLO 6 ปฏิบัติตนในฐานะผู้นำและผู้ตามเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ขององค์กรได้
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
7
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
5
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
7
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
17
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แบบ 1.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์การทำวิจัยในสาขาชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องหรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามข้อ 1 แต่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.25 หรือเทียบเท่า แต่มีประสบการณ์การทำวิจัยในสาขาชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 2 ปี
- มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติหรือนานาชาติ
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่สมัครเข้าศึกษา โดยเป็นไปตามประกาศของคณะวิทยาศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย
- คุณสมบัติอื่นนอกเหนือจากที่ระบุข้างต้นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
- แบบ 2.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์การทำวิจัยในสาขาชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่สมัครเข้าศึกษา โดยเป็นไปตามประกาศของคณะวิทยาศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย
- คุณสมบัติอื่นนอกเหนือจากที่ระบุข้างต้นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
- แบบ 2.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนระดับดีมาก และมีประสบการณ์การทำวิจัยในสาขาชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มาไม่น้อยกว่า 1 ปีและมีเอกสารหลักฐานรับรอง
- มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่สมัครเข้าศึกษา โดยเป็นไปตามประกาศของคณะวิทยาศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย
- คุณสมบัติอื่นนอกเหนือจากที่ระบุข้างต้นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แบบ 1.1
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ต้องมีอย่างน้อย 2 ผลงาน โดยอย่างน้อย 1 ผลงานต้องเป็นผลงานระดับนานาชาติ ที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แบบ 2.1
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง ที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แบบ 2.2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ต้องมีอย่างน้อย 2 ผลงาน โดยอย่างน้อย 1 ผลงานต้องเป็นผลงานระดับนานาชาติ ที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ชีววิทยา)
- Doctor of Philosophy (Biology)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (ชีววิทยา)
- Ph.D. (Biology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
เน้นการผลิตปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ลึกซึ้ง และเป็นผู้นำทางวิชาการในสาขาชีววิทยาที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเชิงธรรมชาติวิทยาในเรื่องทรัพยากรชีวภาพและระบบนิเวศในเขตเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผู้ที่สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ สังเคราะห์ วิเคราะห์ และสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ที่ลุ่มลึก สามารถถ่ายทอดความรู้นั้นในรูปผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติได้ และสื่อสารความรู้สู่สาธารณะโดยใช้สื่อรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- คุณธรรม จริยธรรม
- มีความซื่อสัตย์สุจริต
- มีระเบียบวินัย
- มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- เคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีจิตสาธารณะ
- ความรู้
- มีความรู้ทั่วไป หลักการและทฤษฎีทางชีววิทยา
- สามารถนำความรู้ทั่วไป หลักการและทฤษฎีมาประยุกต์ใช้และอธิบายหลักการและทฤษฎีทางด้านชีววิทยา
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านชีววิทยา
- ทราบถึงผลกระทบของผลงานวิจัยในปัจจุบันที่มีต่อองค์ความรู้ในสาขาวิชาชีพและสังคม
- ทักษะทางปัญญา
- สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีเหตุมีผลตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
- นำความรู้ทางชีววิทยาไปประยุกต์กับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- มีความใฝ่รู้ สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่หลากหลายได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์
- ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดี
- มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและองค์กร
- สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรที่ไปปฏิบัติงาน
- ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- สามารถประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อการวิเคราะห์ ประมวลผล การแก้ปัญหา และนำเสนอข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
- มีทักษะในการสื่อสารภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเลือกใช้รูปแบบการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
- มีทักษะและความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น เพื่อการค้นคว้าได้อย่างเหมาะสม
- สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นและเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
2
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
10
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
2
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
22
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
ตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหรือเทียบเท่าในหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รับรองวิทยฐานะ มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้
- หลักสูตรแบบ 1.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท สาขาวิชาชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีมาก โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาวิชาชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องมาไม่น้อยกว่า 2 ปี และมีผลงานตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องในระดับมาตรฐานสากล ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐาน Scopus
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี ณ วันสมัครเข้าศึกษา เช่น TOEFL (Paper Based) ไม่น้อยกว่า 450 คะแนน, TOEFL (Computer Based) ไม่น้อยกว่า 133 คะแนน, TOEFL (Internet Based, iBT) ไม่น้อยกว่า 45 คะแนน, IELTS ไม่น้อยกว่า 4.0 คะแนน, CU-TEP ไม่น้อยกว่า 45 คะแนน หรือ PSU-TEP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 45 ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นกรณีไป
- หลักสูตรแบบ 1.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี สาขาวิชาชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีมาก โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องมาไม่น้อยกว่า 2 ปี และมีผลงานตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องในระดับมาตรฐานสากล ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐาน Scopus
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี ณ วันสมัครเข้าศึกษา เช่น TOEFL (Paper Based) ไม่น้อยกว่า 450 คะแนน, TOEFL (Computer Based) ไม่น้อยกว่า 133 คะแนน, TOEFL (Internet Based, iBT) ไม่น้อยกว่า 45 คะแนน, IELTS ไม่น้อยกว่า 4.0 คะแนน, CU-TEP ไม่น้อยกว่า 45 คะแนน หรือ PSU-TEP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 45 ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นกรณีไป
- หลักสูตรแบบ 2.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท สาขาวิชาชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีโดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาวิชาชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องมาไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีผลงานตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องในระดับมาตรฐานสากล ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี ณ วันสมัครเข้าศึกษา เช่น TOEFL (Paper Based) ไม่น้อยกว่า 450 คะแนน, TOEFL (Computer Based) ไม่น้อยกว่า 133 คะแนน, TOEFL (Internet Based, iBT) ไม่น้อยกว่า 45 คะแนน, IELTS ไม่น้อยกว่า 4.0 คะแนน, CU-TEP ไม่น้อยกว่า 45 คะแนน หรือ PSU-TEP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 45 ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นกรณีไป
- หลักสูตรแบบ 2.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ขั้นปริญญาตรี สาขาวิชาชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีมาก โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาวิชาชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องมาไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีผลงานตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องในระดับมาตรฐานสากล ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี ณ วันสมัครเข้าศึกษา เช่น TOEFL (Paper Based) ไม่น้อยกว่า 450 คะแนน, TOEFL (Computer Based) ไม่น้อยกว่า 133 คะแนน, TOEFL (Internet Based, iBT) ไม่น้อยกว่า 45 คะแนน, IELTS ไม่น้อยกว่า 4.0 คะแนน, CU-TEP ไม่น้อยกว่า 45 คะแนน หรือ PSU-TEP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 45 ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นกรณีไป
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 ดังนี้
- แบบที่ 1 สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่หลักสูตรแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน เป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558
- แบบที่ 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่หลักสูตรกำหนด โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่หลักสูตรแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน เป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558
ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ ดังนี้
- แบบ 1.1 ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ (TCI) จำนวน 1 ฉบับ และในวารสารนานาชาติ (ISI/SCOPUS) จำนวน 1 ฉบับ
- แบบ 1.2 ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ (TCI) จำนวน 1 ฉบับ และ ในวารสารนานาชาติ (ISI/SCOPUS) จำนวน 2 ฉบับ
- แบบ 2.1 ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ (ISI/SCOPUS) จำนวน 1 ฉบับ
- แบบ 2.2 ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ (TCI) จำนวน 1 ฉบับ และ ในวารสารนานาชาติ (ISI/SCOPUS) จำนวน 1 ฉบับ