ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เคมี)
- Doctor of Philosophy (Chemistry)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (เคมี)
- Ph.D. (Chemistry)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
- สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรฯ มีการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นดุษฎีบัณฑิตสาขาเคมี ที่มีความรู้เชิงลึกในเรื่องปฏิกิริยาเคมีและอันตรกิริยาของสสาร ตลอดจนมีทักษะในการใช้เครื่องมือและแปลผลข้อมูลที่ได้อย่างถูกต้อง สามารถออกแบบกระบวนการวิจัยและบูรณาการความรู้ผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้ มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสามารถร่วมงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี และมีความเป็นผู้ใฝ่รู้อันจะนาไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนตลอดชีวิต
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 ประยุกต์ใช้ปฏิกิริยาทางเคมีและการเกิดอันตรกิริยาของสสารเพื่อตอบสนองต่องานด้านการแพทย์/อาหาร/สิ่งแวดล้อม/พลังงาน ได้อย่างถูกต้อง
- PLO 2 ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือวิเคราะห์ทางเคมีได้อย่างถูกต้อง
- PLO 3 วิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศเชิงวิชาการเพื่อนาไปใช้ในการสนับสนุนข้อสรุปหรือปรับปรุงสมมติฐานของการวิจัยทางเคมี
- PLO 4 ออกแบบกระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้เทคนิคหรือเครื่องมือทางเคมีในการวิจัยได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
- PLO 5 บูรณาการความรู้ปฏิกิริยาทางเคมีและการเกิดอันตรกิริยาของสสารผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม
- PLO 6 แสดงออกถึงพฤติกรรมของการเป็นคนซื่อสัตย์และมีจริยธรรมทางการวิจัย
- PLO 7 ปฏิบัติตนในฐานะผู้นาและผู้ตามที่ดีเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ขององค์กร
- PLO 8 สื่อสารและนาเสนอข้อมูลเชิงวิชาการเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและตรงความหมาย
โครงสร้างหลักสูตร
สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
5
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า
7
หน่วยกิต*
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
*สำหรับระดับดุษฎีบัณฑิตแบบ 2.1 ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกที่ไม่ซ้ำกับที่เคยเรียนมาแล้วในระดับมหาบัณฑิต
สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
7
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า
17
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แบบ 1.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี หรือเทียบเท่า โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 หรือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แบบ 2.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี หรือเทียบเท่า โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก หรือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 หรือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แบบ 2.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี หรือเทียบเท่า โดยมีผลการเรียนในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ 10% แรกของชั้นเรียน) และมีประสบการณ์ในการทำโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเคมี และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก หรือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 หรือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 (ภาคผนวก จ-1) และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แบบ 1.1
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ผ่านการสัมมนาวิชาการทางเคมี ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง (รวม 6 ครั้ง ตลอดหลักสูตร)*
- แบบ 2.1
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ผ่านการสัมมนาวิชาการทางเคมีเพิ่มเติม (ไม่นับรายวิชา 324-783 และ 324-784) ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง (รวม 4 ครั้ง ตลอดหลักสูตร)*
- แบบ 2.2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ผ่านการให้สัมมนาวิชาการทางเคมีเพิ่มเติม (ไม่นับรายวิชา 324-781 324-782 324-783 และ 324-784) ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง (รวม 2 ครั้ง ตลอดหลักสูตร)*
* กรณีนักศึกษานำเสนอผลงานปากเปล่าในงานประชุมวิชาการนานาชาติ จะสามารถนับแทนการให้สัมมนา 1 ครั้ง ส่วนนักศึกษาที่ไปทำวิจัยต่างประเทศ อนุโลมให้ไม่ต้องสัมมนาในช่วงเวลาดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามหากกลับมาจากต่างประเทศและยังไม่สำเร็จการศึกษา ต้องสัมมนาต่อจนครบตามเกณฑ์ กรณีนอกเหนือจากนี้ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตร
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เคมี)
- Doctor of Philosophy (Chemistry)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (เคมี)
- Ph.D. (Chemistry)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิต สาขาเคมีที่มีทักษะเชิงลึก มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและทักษะในงานวิจัยตลอดจนมีสมรรถนะในการออกแบบงานวิจัยที่มุ่งไปสู่การค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมใหม่ มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสัมพันธ์อันดีต่อเพื่อนร่วมงานทุกชาติทุกภาษา
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- ประยุกต์ความรู้ขั้นสูงในสาขาเฉพาะทางของเคมี เพื่อแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยการคิดเชิงวิพากษ์
- ประยุกต์วิธีการวิจัย ความรู้ขั้นสูงทางเคมีและทักษะทางเคมีเพื่อแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
- แสดงออกถึงความตระหนักในความรับผิดชอบ (คุณธรรม จริยธรรม และการทำงานเป็นทีม)
- เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- นำเสนอผลการทดลองและข้อมูลทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษได้ทั้งการสื่อสารแบบปากเปล่าและการเขียน
- มีแนวคิด ออกแบบ และทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ หรือ สร้างนวัตกรรมทางเคมี
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
7
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
5
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
9
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
15
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แบบ 1.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี หรือเทียบเท่า โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด และให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556 และให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แบบ 2.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี หรือเทียบเท่า โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด และให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556 และให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แบบ 2.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี หรือเทียบเท่า โดยมีผลการเรียนในระดับดีมาก และมีประสบการณ์ในการทำโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเคมี และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด และให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556 และให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ใช้เกณฑ์การสําเร็จการศึกษาตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556 (ภาคผนวก จ) ข้อ 54.2 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 นักศึกษาจะสําเร็จการศึกษาได้ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้
- สอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
- ผ่านการเข้าร่วมสัมมนาที่หลักสูตรฯ จัดขึ้น ดังนี้
- แบบ 1 จำนวน 6 ภาคการศึกษา
- แบบ 2.1 จำนวน 4 ภาคการศึกษา (ไม่รวมรายวิชา 324-783 และ 324-784)
- แบบ 2.2 จำนวน 2 ภาคการศึกษา (ไม่รวมรายวิชา 324-681 324-682 324-783 และ 324-784)
- แบบ 1 สอบผ่านโครงร่างวิทยานิพนธ์ นําเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า ขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายใน และภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- แบบ 2 ศึกษารายวิชาครบตามที่กําหนดไว้ในหลักสูตร ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 สอบผ่านโครงร่างวิทยานิพนธ์ นําเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายใน และภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ชําระหนี้สินทั้งหมดต่อมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัย คณะ หลักสูตร กําหนด