ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
- Doctor of Philosophy (Computer Science)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
- Ph.D. (Computer Science)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้สามารถวิเคราะห์ วิจัยเชิงลึกทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แก้ไขปัญหาซับซ้อนหรือคิดนวัตกรรม ถ่ายทอดความรู้ทางคอมพิวเตอร์ เป็นนวัตกรที่สร้างและประยุกต์องค์ความรู้ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ไปใช้ในอุตสาหกรรม หน่วยงาน ชุมชน/สังคมในระดับต่าง ๆ ควบคู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- อธิบายและวิพากษ์เกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีเชิงลึกที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษาได้เป็นอย่างดี
- วิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางวิทยาการคอมพิวเตอร์
- ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการมีความรับผิดชอบต่อสังคม ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง และไม่ละเมิดด้านการคัดลอกผลงาน(Plagiarism)
- สืบค้นข้อมูลข่าวสารและเสาะหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
- แก้ปัญหาร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม
- พูด เขียน และนำเสนอด้านเทคนิคแก่บุคคลทั่วไปเป็นภาษาอังกฤษ
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
– สัมมนาวิทยานิพนธ์ (ไม่นับหน่วยกิต)
6
หน่วยกิต
– ระเบียบวิธีวิจัย (ไม่นับหน่วยกิต)
2
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
– สัมมนาวิทยานิพนธ์ (ไม่นับหน่วยกิต)
6
หน่วยกิต
– ระเบียบวิธีวิจัย (ไม่นับหน่วยกิต)
2
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
6
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
6
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
– สัมมนาวิทยานิพนธ์ (ไม่นับหน่วยกิต)
6
หน่วยกิต
– ระเบียบวิธีวิจัย (ไม่นับหน่วยกิต)
2
หน่วยกิต
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
6
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
18
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
– สัมมนาวิทยานิพนธ์ (ไม่นับหน่วยกิต)
6
หน่วยกิต
– ระเบียบวิธีวิจัย (ไม่นับหน่วยกิต)
2
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แบบ 1.1
- ป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ) หรือวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.30 หรือโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดและสอบมาแล้ว ไม่เกิน 2 ปี
- มีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ภาคผนวก ช)
- แบบ 2.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตหรือวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.30 หรือโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า มีประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารมาอย่างน้อย 3 ปี ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดและสอบมาแล้ว ไม่เกิน 2 ปี
- มีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ภาคผนวก ช)
- แบบ 1.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ) หรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) โดยมีผลการเรียนดีมากหรือได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดและสอบมาแล้ว ไม่เกิน 2 ปี
- มีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ภาคผนวก ช)
- แบบ 2.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต โดยมีผลการเรียนดีมากหรือได้เกียรตินิยมอับดับหนึ่ง หรือได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
- เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือ
- มีประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารมาอย่างน้อย 5 ปี
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต โดยมีผลการเรียนดีมากหรือได้เกียรตินิยมอับดับหนึ่ง หรือได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
หรือโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดและสอบมาแล้ว ไม่เกิน 2 ปี
- มีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ภาคผนวก ช)
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทรวาดวยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แบบ 1 สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- แบบ 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 1 เรื่อง
โดยทั้ง 2 แบบ ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาตางประเทศตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด