ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ธรณีฟิสิกส์)
- Doctor of Philosophy (Geophysics)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (ธรณีฟิสิกส์)
- Ph.D. (Geophysics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ มุ่งผลิตนักวิชาการที่มีศักยภาพสูง สามารถทาวิจัยเชิงลึกในด้านการสารวจทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการปัญหาทางด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงธรณี วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยหลักสูตรระดับปริญญาโทเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางธรณีฟิสิกส์ ในขณะที่หลักสูตรระดับปริญญาเอกเน้นบูรณาการความรู้ทางธรณีฟิสิกส์ร่วมความรู้สาขาอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยทั้งสองหลักสูตรมุ่งเน้น การพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรมและสามารถนาองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้บริการสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับสากล รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม บนพื้นฐานของการจัดการศึกษาตามแนวทางพัฒนาการนิยม (Progressivism) ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) และส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) สร้างเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องนาไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 ออกแบบวิธีการทางธรณีฟิสิกส์และวางแผนการดาเนินงาน เพื่อการสารวจทรัพยากรธรรมชาติ หรือ แก้ปัญหาทางด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือ การท่องเที่ยวเชิงธรณี หรือ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม
- PLO 2 ใช้เครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเสนอแนวทางในการวางแผนป้องกันและการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน
- PLO 3 บูรณาการองค์ความรู้ทางธรณีฟิสิกส์กับศาสตร์แขนงอื่นเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือวิธีการใหม่ หรือนวัตกรรมในด้านการสารวจทรัพยากรธรรมชาติ หรือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือ การท่องเที่ยวเชิงธรณี หรือ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ภาคใต้
- PLO 4 แสดงออกถึงการมีจรรยาบรรณทางวิชาการ โดยคานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
- PLO 5 สามารถทางานเป็นทีมทั้งในบริบทของผู้นาและผู้ตามได้
- PLO 6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลและเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
- PLO 7 สื่อสารและนาเสนอผลงานทางวิชาการด้วยภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แบบ 1.1
- เป็นผู้สาเร็จการศึกษาปริญญาโทหรือเทียบเท่า หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ สาขาฟิสิกส์ สาขาวิชาธรณีวิทยา หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หรือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตทุกสาขา และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสาหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และ/หรือ
- มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม ได้แก่ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทาวิจัยในสาขาวิชาธรณีฟิสิกส์หรือธรณีวิทยาโดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ และมีเอกสารหลักฐานรับรอง หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
- แบบ 1.2
- เป็นผู้สาเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาธรณีวิทยา หรือสาขาวิชาอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง หรือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตทุกสาขา โดยมีผลการเรียนดีมาก และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสาหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และ/หรือ
- มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม ได้แก่ มีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ากว่า 3.00 หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทาวิจัยในสาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ ฟิสิกส์ หรือธรณีวิทยาโดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ และมีเอกสารหลักฐานรับรอง หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- แบบ 1.1
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทาวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาที่กาหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการอย่างน้อย 1 ครั้ง
- แบบ 1.2
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทาวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง โดยมีอย่างน้อย 1 เรื่องอยู่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ทั้งนี้ผลงานตีพิมพ์ควรปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Web of Science หรือ Scopus
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาที่กาหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการอย่างน้อย 1 ครั้ง
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ธรณีฟิสิกส์)
- Doctor of Philosophy (Geophysics)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (ธรณีฟิสิกส์)
- Ph.D. (Geophysics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ มุ่งผลิตนักวิชาการขั้นสูงที่มีความรู้ความสามารถทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อการทำวิจัยเชิงลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมและสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับสากล
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- Perceive the importance of morals, ethics, honesty, life, environment and natural resources. Have self and social responsibility as well as possess professional ethics of being a geophysicist.
- Describe important principles and theories that form the basis of geophysical observations and measurements.
- Make their own survey plans and observations with a variety of geophysical instruments, process and interpret data with stating existing uncertainties.
- Apply geophysical knowledge and skills, analyze, and synthesize solutions to an advance and contemporary geophysics problem with competency and international world-view vision.
- Integrate geophysical knowledge with knowledge in other fields and develop creative innovation for use in societally relevant problems, such as natural hazards, natural resources exploration, geotourism, engineering and environmental issues.
- Actively engage in geophysical services for communities to enhance the livelihoods of the people, work in a multi-cultural society both in the role of a leader and in the role of team member and ability to engage in lifelong learning.
- Have acquired skills in utilizing the existing tools that are essential in computer-related work. Be able to utilize information and communications technology appropriately. Be able to communicate effectively both in oral and written form.
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- หลักสูตรแบบ 1.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หลักสูตรวิทยาศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ สาขาฟิสิกส์ สาขาวิชาธรณีวิทยา หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หรือหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
- คุณสมบัติอื่นๆให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558
- หลักสูตรแบบ 1.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาธรณีวิทยา สาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หรือหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตที่มีผลการเรียนระดับดีมาก และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
- คุณสมบัติอื่นๆให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาต้อง
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
- สอบผ่านการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ (Preliminary Examination)
- สอบผ่านการสอบวิทยานิพนธ์แบบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรือย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ข้อกำหนดอื่นๆให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558