ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (คณิตศาสตร์)
- Doctor of Philosophy (Mathematics)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (คณิตศาสตร์)
- Ph.D. (Mathematics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาและการให้เหตุผลที่ถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์ สามารถแก้ปัญหาและนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ หรือบูรณาการร่วมกับศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียนรู้จากสถานการณ์จริงที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ตลอดจนสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง รวมทั้งมีศาสตร์และศิลป์ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ มีปณิธานในการช่วยเหลือผู้อื่นและรับใช้สังคม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 มีความคิดเชิงตรรกะในทางคณิตศาสตร์โดยสามารถเชื่อมโยงปัญหาจริงให้เป็นปัญหาทางคณิตศาสตร์และสามารถแก้ปัญหาได้ และแสดงออกถึงความพร้อมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
- PLO 2 เขียนบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อนโดยการบูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ ได้
- PLO 3 สร้างองค์ความรู้ใหม่ในการผลิตผลงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ที่มีคุณภาพ หรือ ผลิตนวัตกรรมได้
- PLO 4 นำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษได้ ทั้งการพูดและการเขียน
- PLO 5 แสดงออกถึงพฤติกรรมที่บอกความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม จิตสาธารณะ และจรรยาบรรณทางวิชาการได้
- PLO 6 ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อนได้
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แบบ 1.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาการคณนา และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอกและมีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- แบบ 1.1
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- เข้าร่วมกิจกรรมตามข้อกำหนดของหลักสูตร
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (คณิตศาสตร์)
- Doctor of Philosophy (Mathematics)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (คณิตศาสตร์)
- Ph.D. (Mathematics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
มุ่งมั่นในการผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นใน องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นในการเป็นผู้มีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติงานได้จริง สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์เสียสละ และเป็น แบบอย่างที่ดีร่วมสร้างสรรค์งานทางด้านคณิตศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังระดับหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 มีความคิดเชิงตรรกะในทางคณิ
ตศาสตร์โดยสามารถเชื่อมโยงปั ญหาจริงให้เป็นปัญหาทางคณิ ตศาสตร์และสามารถแก้ปัญหาได้ และแสดงออกถึงความพร้อมที่จะเรี ยนรู้ด้วยตนเอง - PLO2 เขียนบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่
มีความซับซ้อนโดยการ บูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์ ในสาขาต่าง ๆ ได้ - PLO3 สร้างองค์ความรู้ใหม่ในการผลิ
ตผลงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ที่มี คุณภาพ หรือ ผลิตนวัตกรรมได้ - PLO4 นำเสนอผลงานทางวิชาการเป็
นภาษาอังกฤษได้ ทั้งการพูดและการเขียน - PLO5 แสดงออกถึงพฤติกรรมที่บอกความรั
บผิดชอบต่อตนเองและสังคม จิตสาธารณะ และจรรยาบรรณทางวิชาการได้ - PLO6 ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านคณิ
ตศาสตร์ที่มีความซับซ้อนได้
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
– สัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต)
2
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
– สัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต)
4
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
6
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
6
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
– สัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต)
2
หน่วยกิต
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
6
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
18
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
– สัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต)
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แบบ 1.1 และแบบ 2.1
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่มีคะแนนเฉลี่ย 3.25 เป็นอย่างต่ำ สําหรับแบบ 1.1 จะต้องมีผลงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่ได้รับการยอมรับ อย่างน้อย 3 ฉบับ และ
- ผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี ณ วันเข้าศึกษา
- PSU-TEP หรือ CU-TEP คะแนนถัวเฉลี่ยทั้ง 3 ทักษะไม่ต่ำกว่า 50% สําหรับ PSU-TEP หรือมากกว่า หรือ คะแนนรวม 3 ทักษะ ไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน สําหรับ CU-TEP หรือ TOEFL (Paper Based) ไม่ต่ำกว่า 450 คะแนน หรือ
- TOEFL (Institutional Testing Program) ไม่ต่ำกว่า 450 คะแนน หรือ
- TOEFL (Computer Based) ไม่ต่ำกว่า 133 คะแนน หรือ
- TOEFL (Internet Based) ไม่ต่ำกว่า 45 คะแนน หรือ
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 4.5 คะแนน หรือ
- เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2556 และตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกําหนดเกณฑ์คัดเลือกเพิ่มเติม
- แบบ 1.2 และแบบ 2.2
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีที่มีพื้นฐานความรู้วิชาคณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรีในระดับ ที่เอื้อต่อการศึกษาระดับสูงไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต และมีคะแนนเฉลี่ยสําหรับสาขาวิชาคณิตศาสตร์ดีมาก สําหรับแบบ 1.2 จะต้องมีผลงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่ได้รับการยอมรับ อย่างน้อย 5 ฉบับ
- ผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจาก สถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี ณ วันเข้าศึกษา
- PSU-TEP หรือ CU-TEP คะแนนถัวเฉลี่ยทั้ง 3 ทักษะไม่ต่ํากว่า 50% สําหรับ PSU-TEP หรือมากกว่า หรือ คะแนนรวม 3 ทักษะ ไม่ต่ํากว่า 50 คะแนน สําหรับ CU-TEP หรือ
- TOEFL (Paper Based) ไม่ต่ำกว่า 450 คะแนน หรือ
- TOEFL (Institutional Testing Program) ไม่ต่ำกว่า 450 คะแนน หรือ
- TOEFL (Computer Based) ไม่ต่ำกว่า 133 คะแนน หรือ
- TOEFL (Internet Based) ไม่ต่ำกว่า 45 คะแนน หรือ
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 4.5 คะแนน หรือ
- เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2556 และตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกําหนดเกณฑ์คัดเลือกเพิ่มเติม
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- สอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
- แบบ 1 สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (qualifying examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยา-นิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายใน และภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพ ตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- แบบ 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสสอบวัดคุณสมบัติ (qualifying examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายใน และภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบ เปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพ ตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 1 เรื่อง