ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (จุลชีววิทยา)
- Doctor of Philosophy (Microbiology)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (จุลชีววิทยา)
- Ph.D. (Microbiology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)จัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและผลลัพธ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนตลอดชีวิต โดยหลักสูตรระดับปริญญาโทมุ่งเน้นการสร้างนักวิชาการและนักวิจัยที่มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีความสามารถในการบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางจุลชีววิทยาเพื่อการศึกษาจุลินทรีย์และการใช้เทคโนโลยีจุลินทรีย์ในการแก้ปัญหาและพัฒนางานด้านจุลชีววิทยา สามารถถ่ายทอดงานวิจัยสู่สังคมเพื่อการพัฒนาประเทศได้ ส่วนหลักสูตรระดับปริญญาเอกเน้นมุ่งเน้นการสร้างผู้นำทางวิชาการและการวิจัยที่มีจรรยาบรรณของนักวิจัยมีความรู้และทักษะการวิจัยเชิงลึกทางจุลชีววิทยา สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีผลกระทบทางวิชาการ หรือ นวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาทางจุลชีววิทยาที่ซับซ้อนและการพัฒนางานด้านจุลชีววิทยาเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนสามารถเผยแพร่งานวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลได้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาการ
- PLO 2 บูรณาการองค์ความรู้ทางจุลชีววิทยาเข้ากับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือ นวตักรรมเพื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรหรืออาหาร หรือ สิ่งแวดล้อม หรือการแพทย์ภายใต้บริบทที่สำคัญของภาคใต้
- PLO 3 วิเคราะห์ลักษณะที่แสดงออกและคุณสมบัติของจุลินทรีย์ได้ลึกถึงระดับเซลล์หรือระดับโมเลกุล
- PLO 4 ใช้เทคโนโลยสีารสนเทศเพื่อการสืบค้นและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- PLO 5 ออกแบบงานวิจัยบนพื้นฐานความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
- PLO 6 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างประสิทธิภาพทั้งในบทบาทของสมาชิกและผู้นำ เพื่อการพัฒนางานวิจัย
- PLO 7 นำเสนอผลงานทางวิชาการด้านจุลชีววิทยาด้วยภาษาอังกฤษได้อย่างถูกตอ้งและชัดเจน
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
6
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
6
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
11
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
13
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แบบ 1.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
- คุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
- แบบ 1.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ที่มีผลการเรียนดีมาก ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
- คุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
- แบบ 2.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
- คุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
- แบบ 2.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ที่มีผลการเรียนดีมาก ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
- คุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แบบ 1.1
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แบบ 1.2
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แบบ 2.1
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แบบ 2.2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่าสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (จุลชีววิทยา)
- Doctor of Philosophy (Microbiology)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (จุลชีววิทยา)
- Ph.D. (Microbiology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
สร้างนักวิจัยและนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญทางจุลชีววิทยาและมีความรู้ทางจุลชีววิทยาเฉพาะด้านระดับสูง คุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานในระดับสากล สามารถคิดริเริ่ม วิเคราะห์ สังเคราะห์ ค้นคว้า วิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่ ประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนระดับประเทศและนานาชาติ ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรมและจรรยาบรรณของนักวิจัย สามารถสร้างเครือข่ายวิจัยและทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- มีความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและสังคม
- อธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยาทั่วไป จุลชีววิทยาเฉพาะด้าน และความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาที่ทำวิจัยได้อย่างเพียงพอและลึกซึ้ง รวมทั้งแสวงหาความรู้ใหม่
- จัดเตรียมข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความชำนาญของตนเองได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
- บูรณาการความรู้ทางจุลชีววิทยาเฉพาะด้าน และในสาขาที่เกี่ยวข้องที่เพียงพอต่อการดำเนินการวิจัยได้ด้วยตนเอง
- วิเคราะห์ปัญหาสำคัญทางจุลชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นและที่มีผลกระทบทั่วโลก โดยการค้นคว้าทบทวนวรรณกรรมทางจุลชีววิทยาที่มีในปัจจุบัน
- ออกแบบ พัฒนา และดำเนินโครงการวิจัยทางจุลชีววิทยาขั้นสูงได้ด้วยตนเอง และสร้างนวัตกรรม หรือ องค์ความรู้ใหม่ทางจุลชีววิทยาที่สนับสนุนความต้องการของชุมชน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และสมาชิกในกลุ่ม รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นได้
- นำเสนอแนวคิดทั่วไปและเชิงวิชาการในสาขาจุลชีววิทยาและเตรียมต้นฉบับสำหรับตีพิมพ์ผลงานวิจัยได้ด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสากล
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
– สัมมนาวิทยานิพนธ์ (ไม่นับหน่วยกิต)
4
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
– สัมมนาวิทยานิพนธ์ (ไม่นับหน่วยกิต)
6
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
3
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
6
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
– สัมมนาวิทยานิพนธ์ (ไม่นับหน่วยกิต)
3
หน่วยกิต
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
10
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
10
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
– สัมมนาวิทยานิพนธ์ (ไม่นับหน่วยกิต)
4
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- ตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
- ตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหรือเทียบเท่า
มีคุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้
- ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรแบบ 1
- แผนการศึกษาแบบ 1.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทหรือเทียบเท่า ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีงานวิจัยที่นำเสนอในรายงานการประชุมวิชาการ (proceedings) และมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยา และผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แผนการศึกษาแบบ 1.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 1 หรือเทียบเท่า ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีประสบการณ์ในการทำโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยา และผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แผนการศึกษาแบบ 1.1
- ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรแบบ 2
- แผนการศึกษาแบบ 2.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือมีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาวิชาจุลชีววิทยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แผนการศึกษาแบบ 2.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มีผลการเรียนระดับดีมาก มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาวิชาจุลชีววิทยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ในระดับมาตรฐาน และผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แผนการศึกษาแบบ 2.1
- ผู้สมัครจากประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักของประเทศต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL paper-based ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน
- TOEFL computer-based ไม่ต่ำกว่า 173 คะแนน
- TOEFL internet-based ไม่ต่ำกว่า 61 คะแนน
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 คะแนน
- CU-TEP หรือ PSU-TEP ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน
- กรณีผู้สมัครมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 3 ให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร พิจารณาให้ความเห็นชอบ
- คุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ภาคผนวก ช)
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 ดังนี้
- แบบ 1 สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (qualifying examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- แบบ 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (qualifying examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- เกณฑ์อื่น ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของทุนการศึกษาที่ได้รับ