ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ฟิสิกส์)
- Doctor of Philosophy (Physics)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (ฟิสิกส์)
- Ph.D. (Physics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถจัดการปัญหาในอุตสาหกรรม 5 ด้าน คือ สุขภาพผู้สูงอายุ การเกษตรอัจฉริยะ พลังงานสะอาด ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือดิจิทัล โดยหลักสูตรระดับปริญญาโทเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ ในขณะที่หลักสูตรระดับปริญญาเอกเน้นบูรณาการความรู้ทางฟิสิกส์ร่วมความรู้สาขาอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางฟิสิกส์หรือนวัตกรรมเพื่อจัดการปัญหาในอุตสาหกรรม 5 ด้านด้งกล่าว โดยทั้งสองหลักสูตรจัดการศึกษาตามแนวทางพัฒนาการนิยม (progressivism) ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based Learning) และส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนแบบออนไลน์และรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) สร้างเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องนาไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม และยึดประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 บูรณาการความรู้ทางฟิสิกส์ร่วมความรู้สาขาอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางฟิสิกส์หรือนวัตกรรมเพื่อจัดการปัญหาในอุตสาหกรรม 5 ด้าน คือสุขภาพผู้สูงอายุ การเกษตรอัจฉริยะ พลังงานสะอาด ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือ ดิจิทัล
- PLO 2 ปรับปรุงหรือพัฒนาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการตรวจวัด
- PLO 3 สื่อสารเชิงวิชาการด้วยภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและตรงความหมาย
- PLO 4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแสวงหาข้อมูลเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
- PLO 5 กล้าแสดงความคิดเห็นและทางานร่วมกับผู้อื่นได้ในฐานะผู้นาและผู้ตามที่ดี
- PLO 6 แสดงออกถึงพฤติกรรมการมีความซื่อสัตย์และเป็นผู้นาในด้านจรรยาบรรณทางวิชาการ
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แบบ 1.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี วัสดุศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตทุกสาขา หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.25 และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาวิชาฟิสิกส์ โดยมีผลงานวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติหรือนานาชาติในสาขาวิจัยนั้นๆ หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
- คุณสมบัติอื่นๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
- แบบ 1.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีผลการเรียนดีมาก ในสาขาวิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี วัสดุศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตทุกสาขา หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
- คุณสมบัติอื่นๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- แบบ 1.1
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แบบ 1.2
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ฟิสิกส์)
- Doctor of Philosophy (Physics)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (ฟิสิกส์)
- Ph.D. (Physics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ มีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีความสามารถในการถ่ายทอดและมีทักษะวิจัยขั้นสูงเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบและมีความมุ่งมั่นในการพัฒนา
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- Describe the physics that form the basis for observation and measurement.
- Apply and integrate advanced principles of physics to physics-related issues.
- Make their own plan and observations with a variety of instruments, and reduce, model, and interpret their data and uncertainties.
- Research, analyze, and synthesize solutions to an original and contemporary physics problem.
- Integrate and apply the physical knowledge with practical experiences and by this create intellectual wisdom, virtue, competency and international world-view vision and practice the professional ethics of being a physicist.
- Evaluate the published literature and effectively communicate their scientific knowledge through reading comprehension of the scientific literature, written and presentations.
- 7. Actively engage in services for communities to enhance the livelihoods of the people based on sufficiency economy principles, work in a multicultural society and ability to engage in lifelong learning.
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- หลักสูตรแบบ 1.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ มีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.25 และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาวิชาฟิสิกส์ โดยมีผลงาน-วิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติ หรือนานาชาติในสาขาวิจัยนั้น ๆ หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะ-กรรมการบริหารหลักสูตร
- กรณีผู้สมัครเข้าศึกษาต่อเป็นนักศึกษาไทย มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนดและให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยผลสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบ ดังนี้
- PSU-TEP คะแนนถัวเฉลี่ยทั้ง 3 ลักษณะ (ฟัง อ่าน เขียน) ไม่ต่ำกว่า 50% หรือ
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน หรือ
- TOEFL (Paper Based) ไม่ต่ำกว่า 450 คะแนน หรือ
- TOEFL (Institutional Testing Program) ไม่ต่ำกว่า 470 คะแนน หรือ
- TOEFL (Computer Based) ไม่ต่ำกว่า 133 คะแนน หรือ
- TOEFL (Internet Based) ไม่ต่ำกว่า 45 คะแนน หรือ
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 4.5 คะแนน
- กรณีผู้สมัครเข้าศึกษาต่อเป็นนักศึกษาต่างชาติ ให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครชาวต่างชาติตามที่หลักสูตรกำหนด
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2556
- หลักสูตรแบบ 1.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาฟิสิกส์ มีผลการเรียนดีมาก หรือมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- กรณีผู้สมัครเข้าศึกษาต่อเป็นนักศึกษาไทย มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนดและให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยผลสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบ ดังนี้
- PSU-TEP คะแนนถัวเฉลี่ยทั้ง 3 ลักษณะ (ฟัง อ่าน เขียน) ไม่ต่ำกว่า 50% หรือ
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน หรือ
- TOEFL (Paper Based) ไม่ต่ำกว่า 450 คะแนน หรือ
- TOEFL (Institutional Testing Program) ไม่ต่ำกว่า 470 คะแนน หรือ
- TOEFL (Computer Based) ไม่ต่ำกว่า 133 คะแนน หรือ
- TOEFL (Internet Based) ไม่ต่ำกว่า 45 คะแนน หรือ
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 4.5 คะแนน
- กรณีผู้สมัครเข้าศึกษาต่อเป็นนักศึกษาต่างชาติ ให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครชาวต่างชาติตามที่หลักสูตรกำหนด
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2556
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
เป็นไปตามระเบียบระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2556 โดยนักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- แบบ 1 นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- สอบผ่านการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ (Preliminary Examination)
- สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ชำระหนี้สินทั้งหมดต่อมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อย
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นตามที่มหาวิทยาลัย/คณะ/หลักสูตรกำหนด