ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สรีรวิทยา)
- Doctor of Philosophy (Physiology)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (สรีรวิทยา)
- Ph.D. (Physiology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
มุ่งเน้นผลิตอาจารย์และนักวิจัยที่สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ผ่านการวิจัยทางด้านสรีรวิทยา มีการเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ผ่านผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ สามารถวางแผนและดำเนินงานวิจัยด้วยตนเอง และทำงานในรูปแบบบูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ เน้นการบริการวิชาการต่อสังคมและท้องถิ่น สร้างนวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงสามารถสื่อสารได้ในระดับสากล และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อสืบค้นข้อมูลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและการแก้ปัญหาของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ มุ่งเน้นทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) โดยสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่เน้นแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ เป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตสาธารณะ สามารถทำงานเป็นทีมและแสดงออกถึงความเป็นผู้นำ มีความสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างเป็นสุข จึงนำไปสู่แนวทางการจัดการศึกษาของหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสร้างวิจัยทางสรีรวิทยาที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพตามยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยเน้นใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) และเรียนรู้โดยการให้ บริการสังคม (Service Learning) ตามแนวทางพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO1: เปรียบเทียบกลไกทางสรีรวิทยาของมนุษย์ในภาวะปกติและผิดปกติโดยมีการวิจัยเป็นฐานได้
- PLO2: วิพากษ์องค์ความรู้ทางสรีรวิทยาที่เชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นได้
- PLO3: สร้างงานวิจัยทางสรีรวิทยาที่ตอบโจทย์ปัญหาด้านสุขภาพของประเทศได้
- PLO4: แสดงออกถึงการปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างด้านคุณธรรมจริยธรรม
- PLO5: แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนการปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการทำงานเป็นทีม
- PLO6: เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาทางสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
- PLO7: ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและนำเสนอข้อมูลเชิงวิชาการทั้งการพูดและการเขียนได้อย่างมีเหตุผล
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
(นักศึกษาจบปริญญาโท)
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
(นักศึกษาจบปริญญาตรี)
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร (ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558)
- แบบ 1.1
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาสรีรวิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสําหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และ
- มีผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือมีประสบการณ์การทําวิจัยที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- แบบ 1.2
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนในระดับดีมาก
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสําหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และ
- มีผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือมีประสบการณ์การทําวิจัยที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมรายละเอียดดังนี้
- แบบ 1.1 และ แบบ 1.2
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้และ
- สําหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 2 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศมีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สําเร็จการศึกษาที่กําหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัยเรื่องคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สรีรวิทยา)
- Doctor of Philosophy (Physiology)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (สรีรวิทยา)
- Ph.D. (Physiology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา มุ่งเน้นผลิตนักวิจัยที่มีประสบการณ์การวิจัยและมีผลงานตีพิมพ์ย้อนหลัง และผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ มีคุณธรรมเและจริยธรรม เป็นนักวิจัยที่สามารถวางแผนและดำเนินงานวิจัยด้วยตนเอง สร้างงานวิจัยที่นำไปสู่องค์ความรู้ใหม่ สู่ความเป็นสากล และพร้อมที่จะแข่งขัน มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและการแก้ปัญหาของประเทศ เป็นนักวิชาการที่มีความรู้ทางสรีรวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- อธิบายความรู้ทางสรีรวิทยาได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
- ปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
- ปฏิบัติตนตามบทบาทและหน้าที่ในการทำงานเป็นทีมได้อย่างเหมาะสม
- แสดงทักษะและความสามารถในการสื่อสารระดับชาติและระดับสากล
- เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- วิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาทางสรีรวิทยาได้อย่างถูกต้อง
- ประเมินผลการทดสอบทางสรีรวิทยาโดยมีการวิจัยเป็นฐาน
- บูรณาการความรู้เพื่อพัฒนางานวิจัยทางสรีรวิทยาขั้นสูงเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
(นักศึกษาทั่วไป และนักวิจัยดุษฎีบัณฑิต)
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า
12
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า
36
หน่วยกิต
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
14
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
10
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- เกณฑ์ด้านความรู้ภาษาอังกฤษ
- ผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันอื่นที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี ณ วันเข้าศึกษา ได้แก่
- PSU-TEP หรือ CU-TEP คะแนนถัวเฉลี่ยทั้ง 3 ทักษะไม่ต่ำกว่า 60% สำหรับ PSU-TEP หรือคะแนนรวม 3 ทักษะไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน สำหรับ CU-TEP
- TOEFL (paper based) ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน หรือ
- TOEFL (Institutional Testing Program) ไม่ต่ำกว่า 520 คะแนน หรือ
- TOEFL (Computer based) ไม่ต่ำกว่า 173 คะแนน หรือ
- TOEFL (Internet based) ไม่ต่ำกว่า 61 คะแนน หรือ
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 คะแนน
- สำหรับนักศึกษาที่สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษ (PSU-TEP) เฉพาะบางทักษะและต้องการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่ไม่ชำนาญ สามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับดุษฎีบัณฑิต ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต หรือรายวิชาภาษาอังกฤษที่จัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาโดยวิทยาเขต โดยสอบรายวิชาในทักษะนั้น ๆ และให้นำผลการสอบไปยื่นที่บัณฑิตวิทยาลัย เพื่อนำไปพิจารณาร่วมกับคะแนนเฉลี่ยของการสอบความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษ PSU-TEP และ/หรือ CU-TEP (ถ้ามี)
- ผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันอื่นที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี ณ วันเข้าศึกษา ได้แก่
- เกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม
- หลักสูตรแบบ 1
- แบบ 1.1 (นักศึกษาทั่วไป) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และมีประสบการณ์การทำวิจัยและมีผลงานตีพิมพ์ (ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด) และเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
- แบบ 1.1 (นักวิจัยดุษฎีบัณฑิต) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และมีประสบการณ์การทำวิจัยและมีผลงานตีพิมพ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด) ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี และเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
- แบบ 1.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี โดยมีผลการเรียนดีมากในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และมีประสบการณ์การทำวิจัยและมีผลงานตีพิมพ์ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี (ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด) และเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
- หลักสูตรแบบ 2
- แบบ 2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด)
- แบบ 2.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี โดยมีผลการเรียนดีมากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด)
- หลักสูตรแบบ 1
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาต้องเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556 และ
- สอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
- สอบผ่านโครงร่างวิทยานิพนธ์ นำเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- หลักสูตรแบบ 2 ศึกษารายวิชาครบตามที่กำหนดในหลักสูตร ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
- ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องมีการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 ครั้ง
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ โดยมีรายละเอียดแต่ละแผนการศึกษาดังนี้
- หลักสูตรแบบ 1
- แบบ 1.1 (นักศึกษาทั่วไป) ผลงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง 2 เรื่อง โดยต้องเป็นระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง
- แบบ 1.1 (นักวิจัยดุษฎีบัณฑิต) ผลงานวิจัยจะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI อย่างน้อย 2 เรื่อง จึงจะสามารถสำเร็จการศึกษาตามเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษา
- แบบ 1.2 ผลงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง 3 เรื่อง โดยต้องเป็นระดับนานาชาติ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- หลักสูตรแบบ 2
- แบบ 2.1 ผลงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรองระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง
- แบบ 2.2 ผลงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง 2 เรื่อง โดยต้องเป็นระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง
- หลักสูตรแบบ 1
- มีผลงานตีพิมพ์อื่น ๆ ตามเงื่อนไขของการรับทุนการศึกษา
- ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นเป็นไปตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาสรีรวิทยา