ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์)
- Doctor of Philosophy (Polymer Science and Technology)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์)
- Ph.D. (Polymer Science and Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
ผลิตนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์มุ่งเน้นพลาสติกชีวภาพและยางธรรมชาติที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการสื่อสาร ทางานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ทั้งในระดับผู้นาและผู้ตาม โดยใช้กระบวนการการเรียนการสอนที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based education) ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง การลงมือปฏิบัติ (Active learning) การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based learning) และการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทางาน (Work integrated learning)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 สามารถดาเนินงานวิจัยได้อย่างถูกต้องตามจรรยาบรรณทางวิชาการ
- PLO 2 บูรณาการความรู้เพื่อการแก้ปัญหา วางแผนพัฒนาและสร้างสรรค์งานวิจัย หรือนวัตกรรมทางด้านพลาสติกชีวภาพหรือยางธรรมชาติได้ โดยคานึงถึง ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
- PLO 3 สามารถวางแผนและออกแบบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านพลาสติกชีวภาพหรือยางธรรมชาติ ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม ได้ด้วยตนเอง
- PLO 4 สืบค้นและคัดกรองข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนางานวิจัยได้
- PLO 5 สื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
– วิชาสัมมนา
2
หน่วยกิต*
– จริยธรรมการวิจัย
1
หน่วยกิต*
(หมายเหตุ * ลงทะเบียนเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต)
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
8
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
4
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
– วิชาสัมมนา
2
หน่วยกิต*
– จริยธรรมการวิจัย
1
หน่วยกิต*
(หมายเหตุ * ลงทะเบียนเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต)
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
– วิชาสัมมนา
2
หน่วยกิต*
– จริยธรรมการวิจัย
1
หน่วยกิต*
(หมายเหตุ * ลงทะเบียนเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต)
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
8
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
16
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
– วิชาสัมมนา
2
หน่วยกิต*
– จริยธรรมการวิจัย
1
หน่วยกิต*
(หมายเหตุ * ลงทะเบียนเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต)
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แบบ 1.1
- เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ในด้านพอลิเมอร์ และมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า 3.25 หรือ
- เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและมีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์มาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ
- เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่มีคุณภาพดี อย่างน้อย 2 ผลงาน และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสาหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
- แบบ 1.2
- เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนระดับดีมาก หรือ
- เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนระดับดีมาก และมีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์มาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสาหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
- แบบ 2.1
- เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ในด้านพอลิเมอร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า 3.00 และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสาหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
- แบบ 2.2
- เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ในด้านพอลิเมอร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนระดับดีมาก และ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสาหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
คุณสมบัติที่นอกเหนือจากข้างต้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แบบ 1.1
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทาวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาที่กาหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แบบ 1.2
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทาวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาที่กาหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แบบ 2.1
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กาหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ากว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทาวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 1 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาที่กาหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แบบ 2.2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กาหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ากว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทาวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 1 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาที่กาหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์)
- Doctor of Philosophy (Polymer Science and Technology)
ชื่อย่อ
- ปร.ด. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์)
- Ph.D. (Polymer Science and Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
มีความมุ่งมั่นในการผลิตปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และมุ่งเน้นผลิตนักวิจัยที่มีประสบการณ์วิจัย และมีผลงานตีพิมพ์ ให้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ มีทักษะในการวิจัยและพัฒนา และสามารถพัฒนาโจทย์วิจัยและดำเนินการวิจัยได้ด้วยตนเอง สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม รักษาจรรยาบรรณในวิชาชีพมีความสามารถในการสื่อสาร ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีทั้งในระดับผู้นำและผู้ตาม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพทั้งในระดับชาติและนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- สามารถประยุกต์องค์ความรู้ด้านพอลิเมอร์ในการทำวิจัยและพัฒนาในการผลิต/ปรับปรุงสมบัติผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์มุ่งเน้นพลาสติกชีวภาพหรือยางธรรมชาติ
- สามารถวิเคราะห์ประเด็นการแก้ปัญหาพอลิเมอร์มุ่งเน้นพลาสติกชีวภาพหรือยางธรรมชาติ โดยใช้เทคนิคทั่วไปหรือเฉพาะทางได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของผลงานวิจัยในปัจจุบันที่มีต่อองค์ความรู้ในสาขาวิชาและต่อการปฏิบัติในวิชาชีพ
- สามารถค้นคว้าและบูรณาการความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ากับงานวิจัยด้านพอลิเมอร์มุ่งเน้นพลาสติกชีวภาพหรือยางธรรมชาติ
- สามารถวางแผนและพัฒนาโจทย์วิจัยและทำวิจัยในระดับลุ่มลึกที่สร้างองค์ความรู้ใหม่
- สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างเหมาะสมกับบุคคลต่าง ๆ ในวงการวิชาการ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์
- สามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเองและประเมินตนเองได้
- สามารถปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- สามารถศึกษาเรื่องใหม่ ๆ ที่นอกเหนือจากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มาด้วยตนเองและอธิบายถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้อย่างชัดเจน
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
48
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2
72
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
72
หน่วยกิต
แบบ 2.1
48
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
12
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แบบ 2.2
72
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
24
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
ตามเกณฑ์มาตรฐานและมีคุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้
- หลักสูตรแบบ 1.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ในด้านพอลิเมอร์ และมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์มาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี
- หลักสูตรแบบ 1.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง มีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์มาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 ปี
- หลักสูตรแบบ 2.1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ในด้านพอลิเมอร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.10
- หลักสูตรแบบ 2.2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ในด้านพอลิเมอร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีผลการเรียนในระดับดีมาก
ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่ต้องมีการตีความคุณสมบัติ หรือการผ่อนผันคุณสมบัติข้อใด จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 ดังนี้
- แบบ 1 สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์สอบขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่องเกณฑ์ การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- แบบ 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์สอบขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่องเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ