วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (กายวิภาคศาสตร์)
- Master of Science (Anatomy)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (กายวิภาคศาสตร์)
- M.Sc. (Anatomy)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แผน ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- แผน ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
พัฒนาผู้เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์เพื่อสร้างสรรค์ความรู้งานวิจัย และนวัตกรรมทางกายวิภาคศาสตร์และมีคุณธรรมจริยธรรม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
- PLO 2 สามารถวิเคราะห์ความรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์เพื่อการพัฒนางานวิจยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ได้
- PLO 3 สามารถวิเคราะห์แก้ปญหาโดยใช้องค์ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ได้
- PLO 4 สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารเชิงวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- PLO 5 แสดงออกถึงภาวะความเป็นผู้นําและการทํางานร่วมกันเป็นทีม
- PLO 6 แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และมีจิตสาธารณะ
- PLO 7 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อแสวงหาความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม
- PLO 8 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 1
36
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
11
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
7
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
18
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แผน ก 1
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 2.75 หรือ
- เป็นผู้ที่สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่มีพื้นฐานร่วมหรือใกล้เคียงกับสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีประสบการณ์ในการทํางานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่
- มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม กรณีผู้เข้าสมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวอาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
- แผน ก 2
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิตหรือ สาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวขัองโดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.5 หรือ
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีในหลักสูตรที่กําหนดไว้ในข้อ 1 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.5 และมีประสบการณ์ในการทํางานในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับกายวิภาคศาสตร์ไม่น้อยกว่า 1 ปี
- มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม กรณีผู้เข้าสมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวอาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
- กรณีที่ต้องมีการตีความคุณสมบัติหรือการผ่อนผันคุณสมบัติข้อใดจะต้องไดร้ับความเหนชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
เกณฑ์การสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตรให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แผน ก 1
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้และ
- สําหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สําเร็จการศึกษาที่กําหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แผน ก 2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กําหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ํากว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้และ
- สําหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนําเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นําเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สําเร็จการศึกษาที่กําหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (กายวิภาคศาสตร์)
- Master of Science (Anatomy)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (กายวิภาคศาสตร์)
- M.Sc. (Anatomy)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
พัฒนาองค์ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ สร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางกายวิภาคศาสตร์ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติได้
- สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางกายวิภาคศาสตร์ได้
- สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถวิเคราะห์แก้ปัญหาทางกายวิภาคศาสตร์ได้
- มีทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานร่วมกันเป็นทีม
- มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และมีจิตสาธารณะ
- มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อแสวงหาความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ และใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 1
36
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
12
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
6
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
18
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
ตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม
- แผน ก แบบ ก 1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือ
- เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ที่มีพื้นฐานร่วมหรือใกล้เคียงกับสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่
- คุณสมบัติอื่นๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556
- แผน ก แบบ ก 2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สัตว-แพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวขัองโดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.5 หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี ในหลักสูตรที่กำหนดไว้ในข้อ 1 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.5 และมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับกายวิภาคศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 1 ปี
- คุณสมบัติอื่นๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556
ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร กรณีที่ต้องมีการตีความคุณสมบัติ หรือการผ่อนผันคุณสมบัติข้อใดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี้
- แผน ก แบบ ก 1
- ต้องเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดทาย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ สําหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับตีพิมพ์ ในวาระระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- แผน ก แบบ ก 2
- ศึกษารายวิชาครบถวนตามที่กําหนดในหลักสูตรโดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4.00 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- วิทยานิพนธ์ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือส่วนหนึ่งของนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการหรือนําเสนอต่อที่ประชุมวิชาการ โดยบทความที่นําเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ไดรับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว