วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
- Master of Science (Computer Science)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
- M.Sc. (Computer Science)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
- แผน ข จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
จากปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่เน้นการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ที่เน้นพัฒนาการผู้เรียนในทุกๆด้าน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้ตอบรับปรัชญาดังกล่าวโดยออกแบบการเรียนการสอนโดยอิงกับหลัก Outcome-based Education ที่มุ่งเน้นให้มหาบัณฑิตเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ในรูปแบบที่มีความหลากหลาย จัดการเรียนการสอนโดยอิงโจทย์จากการทางานจริงในรูปแบบ Work Integrated Learning และส่งเสริมให้นาองค์ความรู้ไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ และพัฒนานวัตกรรม หรือองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง เพื่อสนับสนุนทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning) และตอบโจทย์ปัญหาของสังคมหรืออุตสาหกรรมดิจิทัลได้ในอนาคต
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 อธิบายหลักการและทฤษฎีที่สาคัญทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้
- 1.1 อธิบายหลักการและทฤษฎีพื้นฐานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์
- 1.2 อธิบายหลักการและทฤษฎีในศาสตร์เฉพาะทางสาขาใดสาขาหนึ่งในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์
- PLO 2 ประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาเชิงวิชาการ อุตสาหกรรมหรือชุมชนได้
- PLO 3 สร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมด้วยกระบวนการวิจัยจากการบูรณาการความรู้และทักษะในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้
- PLO 4 ติดตามความก้าวหน้าด้านวิชาการและเทคโนโลยีทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และสามารถวิเคราะห์ สรุปประเด็นได้ด้วยตนเอง
- PLO 5 แสดงออกถึงการทางานเป็นทีมและสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- PLO 6 แสดงออกถึงคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพวิทยาการคอมพิวเตอร์
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
36
หน่วยกิต
แผน ก 1
36
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แผน ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
12
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
6
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
18
หน่วยกิต
แผน ข
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
12
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
18
หน่วยกิต
– สารนิพนธ์
6
หน่วยกิต
หมายเหตุ: ต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชาระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) โดยไม่นับหน่วยกิต (Audit)
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แผน ก 1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องและมีเกณฑ์คุณสมบัติดังข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
- เกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 3.50
- ได้รับความเห็นชอบจากกรรมการบริหารหลักสูตรให้เข้าเรียนได้
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องและมีเกณฑ์คุณสมบัติดังข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
- แผน ก 2 และ ข
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาดังต่อไปนี้
- สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ
- สาขาอื่น ๆ ที่ผ่านการเรียนรายวิชาทางคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิตและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาดังต่อไปนี้
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- แผน ก 1
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัยเรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แผน ก 2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้และ
- สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัยเรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แผน ข
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น พร้อมทั้งเสนอรายงานสารนิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- สำหรับผลงานสารนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของสารนิพนธ์ต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัยเรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
- Master of Science (Computer Science)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
- M.Sc. (Computer Science)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
- แผน ข จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และการประยุกต์ ควบคู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้เรียนไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ พัฒนา วิจัยเพื่อเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ในวิทยาการของศาสตร์นี้ต่อไป
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- อธิบายหลักการและทฤษฎีที่สำคัญทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้
- ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาเชิงวิชาการหรืออุตสาหกรรม
- สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยกระบวนการวิจัยจากการบูรณาการความรู้และทักษะในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- ติดตามและวิเคราะห์ความก้าวหน้าด้านวิชาการและเทคโนโลยีทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
- มีทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- มีทักษะการทำงานเป็นทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
- มีคุณธรรม จริยธรรม ทางวิชาการและวิชาชีพวิทยาการคอมพิวเตอร์
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 1
36
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเฉพาะ
– วิชาแกน
6
หน่วยกิต
– วิชาเฉพาะด้าน
6
หน่วยกิต
– วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
18
หน่วยกิต
– วิชาเสริมทักษะการวิจัย*
3
หน่วยกิต
แผน ข
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเฉพาะ
– วิชาแกน
6
หน่วยกิต
– วิชาเฉพาะด้าน
6
หน่วยกิต
– วิชาเลือก
18
หน่วยกิต
– สารนิพนธ์
6
หน่วยกิต
– วิชาเสริมทักษะการวิจัย*
3
หน่วยกิต
*วิชาเสริมทักษะการวิจัย ไม่นับหน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาเป็นผู้มีคุณสมบัติสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาโทตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและมีคุณสมบัติขั้นต่ำ ดังนี้
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคอมพิวเตอร์ หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 และมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาแล้วอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยมีผู้บังคับบัญชาให้การรับรองโดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารประจำหลักสูตร/คณะกรรมการคัดเลือก และ
- เป็นผู้เคยผ่านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานอย่างน้อย 6 หน่วยกิต ในระดับปริญญาตรี
- ผู้เลือกเรียนแผน ก แบบ ก1 จะต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีประสบการณ์ในการทำงานหรือการวิจัยไม่น้อยกว่า 2 ปี
- คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ใช้เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้
- สอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
- แผน ก แบบ ก 1 สอบผ่านโครงร่างวิทยานิพนธ์ นำเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ (Journal) ที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2556 หรือ คณะกรรมการประจำคณะฯ ให้ความเห็นชอบ
- แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชาครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่าสอบผ่านโครงร่างวิทยานิพนธ์ นำเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายซึ่งต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟัง โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2556 หรือ สิ่งพิมพ์ทางวิชาการซึ่งคณะกรรมการประจำคณะฯ ให้ความเห็นชอบ หรือ เสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings)
- แผน ข ศึกษารายวิชาครบตามที่กำหนดในหลักสูตร ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านสารนิพนธ์ และสอบผ่านการประมวลความรอบรู้ (Comprehensive Examination) ข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้นและเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และผลงานสารนิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2556 หรือ สิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ซึ่งคณะกรรมการประจำคณะฯ ให้ความเห็นชอบ หรือ เสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) หรือ ในรูปแบบบทความ อื่น ๆ หรือ สื่อดิจิตอลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
- ผ่านการรายงานความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของนักศึกษาทุกภาคการศึกษา ยกเว้นมีเหตุจำเป็นอันสมควรที่เห็นชอบโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
- ชำระหนี้สินทั้งหมดต่อมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยฯ คณะฯ หลักสูตรฯ กำหนด