วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์)
- Master of Science (Mathematics)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (คณิตศาสตร์)
- M.Sc. (Mathematics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แผน ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- แผน ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
มุ่งมั่นในการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์เน้นผู้เรียนเป็นหลักผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและปฏิบัติจริงตลอดจนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองได้มุ่งเน้นในการเป็นผู้มีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เป็นอย่างดีมีคุณธรรมจริยธรรมปฏิบัติงานได้จริงสามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างมีความรับผิดชอบซื่อสัตย์เสียสละเป็นแบบอย่างที่ดีและสามารถทางานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพร่วมสร้างสรรค์งานทางด้านคณิตศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 เขียนบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนได้
- PLO 2 สามารถทางานวิจัยทางคณิตศาสตร์ในระดับเบื้องต้นได้
- PLO 3 ใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางคณิตศาสตร์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนได้อย่างเชี่ยวชาญ
- PLO 4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
- PLO 5 นาเสนอผลงานทางวิชาการทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยวาจาและการเขียน
- PLO 6 ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
- PLO 7 แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีจรรยาบรรณทางวิชาการและความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 1
36
หน่วยกิต
– สัมมนา*
3
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
3
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับเลือก
3
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
12
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
18
หน่วยกิต
– สัมมนา*
2
หน่วยกิต
*ลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับหน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาคณิตศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องและมีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม ได้แก่
- แผน ก 1
- มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 ในรายวิชาทางคณิตศาสตร์
- ผ่านการทดสอบความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์กำหนดโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แผน ก 2
- มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- แผน ก 1
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แผน ก 2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings)
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาที่กาหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สาเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์)
- Master of Science (Mathematics)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (คณิตศาสตร์)
- M.Sc. (Mathematics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
มุ่งมั่นในการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นในการเป็นผู้มีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติงานได้จริง สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดี ร่วมสร้างสรรค์งานทางด้านคณิตศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- คุณธรรม จริยธรรม
- ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้
- เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- ความรู้
- มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการ รวมทั้งประยุกต์ ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการทางคณิตศาสตร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
- รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
- มีความสามารถในการนำเอาประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์งานวิจัยทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาทางคณิตศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
- ทักษะทางปัญญา
- คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
- สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสิ่งต่าง ๆ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการของปัญหา
- สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม
- ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ ต่าง ๆ ทั้งบทบาทของผู้นำ หรือบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
- มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง และรับผิดชอบงานในกลุ่มในกรณีที่ทำงานเป็นกลุ่ม
- สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
- มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
- สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
- สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
- สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 1
36
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
3
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับเลือก
3
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
12
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
18
หน่วยกิต
– สัมมนา*
2
หน่วยกิต
*ลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับหน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
ตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีคุณสมบัติเพิ่มเติม
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีและต้องมีพื้นฐานความรู้วิชาคณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
- เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2556 และคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่อาจกำหนดเกณฑ์คัดเลือกเพิ่มเติมซึ่งจะประกาศเป็นปี ๆ ไป
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
แผน ก แบบ ก 2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว