วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและชีวสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและชีวสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและชีวสารสนเทศ)
- Master of Science (Molecular Biotechnology and Bioinformatics)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและชีวสารสนเทศ)
- M.Sc. (Molecular Biotechnology and Bioinformatics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและชีวสารสนเทศ มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติงานวิจัยที่เป็นมาตรฐานระดับนานาชาติ ขณะเดียวกันก็เป็นงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ เน้นให้เป็นนักวิจัยที่มีความรู้ ความสามารถในการวิจัยในด้านชีววิทยาโมเลกุล เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่และชีวสารสนเทศ พร้อมที่จะติดตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ตลอดจนเป็นนักวิจัยที่มีคุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิจัยโดยหลักสูตรการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 บูรณาการองค์ความรู้ทางด้านชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์และการเกษตรได้
- PLO 2 เลือกใช้เทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลและเครื่องมือทางชีวสารสนเทศเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมและรูปแบบการแสดงออกของยีนได้
- PLO 3 ประยุกต์ใช้ระเบียบวิจัยเพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์และการเกษตรได้
- PLO 4 สื่อสารและนาเสนอภาษาอังกฤษเชิงวิชาการได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
- PLO 5 ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมและจรรยาบรรณนักวิจัย
- PLO 6 ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ในการทางานร่วมกันเป็นทีม
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1
36
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
6
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
6
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
24
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แผน ก 1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี ทางด้านวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 และมีประสบการณ์ในการทำโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามข้อ 1 แต่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีประสบการณ์ในการทำโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี และมีผลงานวิจัยที่ได้ทำสำเร็จแลว โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปีนับจากวันที่สมัครเข้าศึกษา โดยเป็นไปตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย
- คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าดวยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
- คุณสมบัติอื่นนอกเหนือจากที่ระบุข้างต้นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แผน ก 2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี ทางด้านวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามข้อ 1 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 แต่มีประสบการณ์ ในการทำโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี และมีเอกสารหลักฐานรับรอง
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปีนับจากวันที่สมัครเข้าศึกษา โดยเป็นไปตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย
- คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าดวยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
- คุณสมบัติอื่นนอกเหนือจากที่ระบุขางต้นใหอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แผน ก 1
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเขารับฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องไดรับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัย/คณะ/หลักสูตร กำหนด
- แผน ก2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเขารบฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไวในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัย/คณะ/หลักสูตร กำหนด
- แบบ 1.1
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แบบ 2.1
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเขารับฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- แบบ 2.2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเขารับฟังได้ และ
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและชีวสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ)
- Master of Science (Molecular Biology and Bioinformatics)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (ชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ)
- M.Sc. (Molecular Biology and Bioinformatics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติงานวิจัยที่เป็นมาตรฐานระดับนานาชาติ ขณะเดียวกันก็เป็นงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ เน้นให้เป็นนักวิจัยที่มีความรู้ ความสามารถในการวิจัยในด้านชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ พร้อมที่จะติดตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ตลอดจนเป็นนักวิจัยที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- สามารถเชื่อมโยงความรู้ทางชีววิทยาโมเลกุล และชีวสารสนเทศ กับศาสตร์อื่นๆ มองเห็นแนวทางที่จะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อวงวิชาการและ/หรือการนำไปใช้งาน และ/หรือ ประโยชน์ต่อสังคม
- เลือกใช้เครื่องมือชีวสารสนเทศเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางชีววิทยาโมเลกุลได้อย่างถูกต้อง
- สามารถค้นคว้าและพัฒนาโครงร่างงานวิจัย วางแผน และออกแบบการทดลองได้ภายใต้การดูแลของที่ปรึกษา
- สามารถประยุกต์องค์ความรู้ด้านชีวโมเลกุลและ ชีวสารสนเทศเพื่อสื่อสารกับนักวิชาการและคนทั่วไปในสังคมได้
- ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ และสถิติในการวิเคราะห์ผลการทดลองที่ได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ
- ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมและปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณนักวิจัย
- ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1
36
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
8
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
4
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
24
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
ตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีคุณสมบัติเพิ่มเติม
แผน ก แบบ ก 1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 และมีประสบการณ์ในการทำโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามข้อ 1 แต่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีประสบการณ์ในการทำโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี และมีผลงานวิจัยที่ได้ทำสำเร็จแล้ว โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่สมัครเข้าศึกษา โดยต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL paper-based ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน
- TOEFL computer-based ไม่ต่ำกว่า 173 คะแนน
- TOEFL internet-based ไม่ต่ำกว่า 61 คะแนน
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.5 คะแนน
- CU-TEP หรือ PSU-TEP ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน
ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นกรณีไป
- คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556
- คุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ 1-3 ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามข้อ 1 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 แต่มีประสบการณ์ ในการทำโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี และมีเอกสารหลักฐานรับรอง
- มีผลการสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองและสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่สมัครเข้าศึกษา โดยต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL paper-based ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน
- TOEFL computer-based ไม่ต่ำกว่า 173 คะแนน
- TOEFL internet-based ไม่ต่ำกว่า 61 คะแนน
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.5 คะแนน
- CU-TEP หรือ PSU-TEP ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน
ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นกรณีไป
- คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556
- คุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ 1-3 ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556 ข้อ 54.2 นักศึกษาจะสําเร็จการศึกษาได้ตองมีคุณสมบัติดังนี้
- สอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาตางประเทศตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด
- แผน ก แบบ ก 1 ต้องเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชาครบตามที่กําหนดไวในหลักสูตร โดยจะต้องไดรับคะแนนเฉลี่ยสะสมไมต่ำกว่า 3.0 พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ ผลงานวิทยานิพนธหรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ตองไดรับการตีพิมพหรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) ดังกล่าว
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัย / คณะ / หลักสูตร กําหนด