วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชวิทยา)
- Master of Science (Pharmacology)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (เภสัชวิทยา)
- M.Sc. (Pharmacology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา มีการดำเนินงานโดยน้อมนำพระราโชวาท ของเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ที่สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นสร้างบุคลากรในระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาวิชาเภสัชวิทยา รวมท้ังให้มีความสามารถในการค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม สามารถวิเคราะห์สังเคราะห์ ความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพ สังคมและประเทศชาติ มีคุณสมบัติของมหาบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ และงานวิจัยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ตลอดจนมีจรรยาบรรณในการเป็นนักวิชาการและนักวิจัยร่วมกับส่งเสริมและพัฒนาให้มีคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนสามารถนำผลการศึกษาค้นคว้าไปพัฒนางานด้านเภสัชวิทยาได้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 แสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่สะท้อนถึงวินัย ซื่อสัตย์ สุจริตและมีคุณธรรมจริยธรรม
- PLO2 ประยุกต์ความรู้ด้านเภสัชวิทยาไปใช้ในวิชาชีพด้านเภสัชวิทยาได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
- ประยุกต์ความรู้ทางเภสัชวิทยาในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการหรือการปฏิบัติในวิชาชีพ
- สามารถนำความรู้ใหม่ในสาขาเภสัชวทิยาไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพด้านเภสัชวิทยา
- PLO3 ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเภสัชวิทยา เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน รวมถึงแก้ไขปัญหาทางวิชาการและ วิชาชีพด้านเภสัชวิทยา
- PLO4 สามารถใช้กระบวนการวิจัยในการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาทางด้านเภสัชวิทยา
- วิเคราะห์วิธีการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ตลอดถึงผลกระทบของผลงานวิจัยในปัจจุบัน ที่มีต่อองค์ ความรู้ในสาขาวิชาและต่อการปฏิบัติในวิชาชีพด้านเภสัชวิทยา
- วิเคราะห์วิจารณ์และใช้ผลงานวิจัยสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ หรือรายงานทางวิชาชีพ และพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยการบูรณาการให้เข้ากับองคค์วามรู้เดิมหรือเสนอเป็นความรู้ใหม่ที่ท้าทาย
- วางแผน ออกแบบและดำเนินการตามโครงการวิจัย ค้นคว้าทางวิชาการได้ด้วยตนเองโดยการใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการใช้เทคนิคการวิจัย และให้ข้อสรุปที่สมบูรณ์ซึ่งขยายองค์ความรู้หรือแนวทางการปฏิบัติในวิชาชีพที่มีอยู่เดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ
- PLO5 ทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดี
- แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบในการดำเนินงานของตนเองและร่วมมือกับผู้อื่นอย่างเต็มที่ ในการจัดการข้อโต้แย้งและปัญหาต่าง ๆ
- แสดงออกในทักษะการเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสม ตามโอกาสและสถานการณ์เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานของกลุ่ม
- มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเพื่อส่วนรวม
- PLO6 แก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน หรือความยุ่งยากทางวิชาชีพได้ด้วยตนเอง
- PLO7 ตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเองและสามารถประเมินตนเองได้ รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้
- PLO8 สามารถสื่อสาร และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างถูกต้องและเหมาะสม
- นำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ และวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงชุมชนทั่วไป
- ก้าวทันและเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าปัญหา สรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
14
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
4
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
18
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แผน ก 2
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์กายภาพ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือ
- เป็นผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาที่ระบุไว้ในข้อ 1) โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว แต่มีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แผน ก2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กําหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้และ
- สําหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนําเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นําเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สําเร็จการศึกษาที่กําหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชวิทยา)
- Master of Science (Pharmacology)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (เภสัชวิทยา)
- M.Sc. (Pharmacology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา มีการดำเนินงานโดยน้อมนำพระราโชวาทของเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ที่สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความชำนาญในสาขาวิชาเภสัชวิทยา สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่วิชาชีพและประเทศชาติ มีคุณสมบัติของมหาบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างองค์ความรู้และงานวิจัยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ตลอดจนมีจรรยาบรรณในการเป็นนักวิชาการและนักวิจัยร่วมกับส่งเสริมและพัฒนาให้มีคุณธรรมจริยธรรม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- PLO1 แสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่สะท้อนถึงวินัย ซื่อสัตย์ สุจริตและมีคุณธรรมจริยธรรม
- PLO2 บูรณาการความรู้ด้านเภสัชวิทยาที่ทันสมัยและถูกต้องทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการในระดับสากล
- มีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเนื้อหาสาระหลักของสาขาวิชา ตลอดจนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและสามารถนำมาประยุกต์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการหรือการปฏิบัติในวิชาชีพ
- บูรณาการความก้าวหน้าในวิทยาการสาขาเภสัชวิทยากับวิชาชีพ
- PLO3 บูรณาการองค์ความรู้พื้นฐานและขั้นสูงด้านเภสัชวิทยา เพื่อจัดการประเด็นปัญหาทางวิชาการและวิชาชีพ
- ใช้ความรู้ทางเภสัชวิทยาพัฒนาความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในการจัดการประเด็นปัญหาทางวิชาการและวิชาชีพ
- สามารถสังเคราะห์และใช้ผลงานวิจัย สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ หรือรายงานทางวิชาชีพ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ประเด็น หรือปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์
- PLO4 สร้างองค์ความรู้ทางด้านเภสัชวิทยาด้วยการวิจัย
- มีความเข้าใจในวิธีการพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ และการประยุกต์ ตลอดถึงผลกระทบของผลงานวิจัยในปัจจุบันที่มีต่อองค์ความรู้ในสาขาวิชาและต่อการปฏิบัติในวิชาชีพ
- สามารถสังเคราะห์และใช้ผลงานวิจัย สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ หรือรายงานทางวิชาชีพ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ โดยการบูรณาการให้เข้ากับองค์ความรู้เดิมหรือเสนอเป็นความรู้ใหม่ที่ท้าทาย
- สามารถวางแผนและดำเนินการตามโครงการวิจัย ค้นคว้าทางวิชาการได้ด้วยตนเองโดยการใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการใช้เทคนิคการวิจัย และให้ข้อสรุปที่สมบูรณ์ซึ่งขยายองค์ความรู้หรือแนวทางการปฏิบัติในวิชาชีพที่มีอยู่เดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ
- PLO5 ทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดี
- มีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของตนเองและร่วมมือกับผู้อื่นอย่างเต็มที่ ในการจัดการข้อโต้แย้งและปัญหาต่าง ๆ
- แสดงออกในทักษะการเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสม ตามโอกาสและสถานการณ์เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานของกลุ่ม
- มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเพื่อส่วนรวม
- PLO6 มุ่งมั่นปฏิบัติงานอย่างไม่ย่อท้อจนบรรลุเป้าหมาย
- สามารถแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน หรือความยุ่งยากทางวิชาชีพได้ด้วยตนเอง
- สามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเองและสามารถประเมินตนเองได้ รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้
- PLO7 สามารถสื่อสาร และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างถูกต้องและเหมาะสม
- นำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ และวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงชุมชนทั่วไป
- ก้าวทันและเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าปัญหา สรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 1
36
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
14
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
4
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
18
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
ตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้
- หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องโดยอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรโดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาที่กำหนดในข้อ 1. โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 แต่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสรีรวิทยา หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และต้อง
- สอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
- แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการ โดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
- มีผลงานตีพิมพ์หรือผลงานอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขของการรับทุนการศึกษา
- ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิต ศึกษา