วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์)
- Master of Science (Polymer Science and Technology)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์)
- M.Sc. (Polymer Science and Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
ปรัชญา มีความมุ่งมั่นในการผลิตมหาบัณฑิต ให้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ โดยมุ่งเน้นพลาสติกชีวภาพและยางธรรมชาติ มีทักษะในการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมโดยคานึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยจัดการการเรียนการสอน ที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based education) ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้องลงมือปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลายโดยเฉพาะการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based learning) และกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทางาน (Work intregrated learning) ซึ่งจะนาไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม รักษาจรรยาบรรณ มีความสามารถในการสื่อสาร ทางานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ทั้งในระดับผู้นาและผู้ตาม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพทั้งในระดับชาติเเละนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม
- สามารถประยุกต์องค์ความรู้ด้านพอลิเมอร์ในการทำวิจัยและพัฒนาในการผลิต/ปรับปรุงสมบัติผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ มุ่งเน้นพลาสติกชีวภาพหรือยางธรรมชาติ
- สามารถวิเคราะห์ประเด็นการแก้ปัญหาพอลิเมอร์ มุ่งเน้นพลาสติกชีวภาพหรือยางธรรมชาติ โดยใช้เทคนิคทั่วไปหรือเฉพาะทางได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของผลงานวิจัยในปัจจุบันที่มีต่อองค์ความรู้ในสาขาวิชาและต่อการปฏิบัติในวิชาชีพ
- สามารถค้นคว้าและบูรณาการความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ากับงานวิจัยด้านพอลิเมอร์ มุ่งเน้นพลาสติกชีวภาพหรือยางธรรมชาติ
- สามารถวางแผนและพัฒนางานวิจัยได้ด้วยตนเอง
- สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างเหมาะสมกับบุคคลต่าง ๆ ในวงการวิชาการ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพรวมทั้งวิทยานิพนธ์
- สามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเองและประเมินตนเองได้
- สามารถปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 1
36
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
11
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
5
หน่วยกิต
– หมวดวิชาสัมมนา
2
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
18
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
- แผน ก แบบ ก 1
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ตํ่ากว่า 3.00 หรือเป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ที่มีพื้นฐานร่วมหรือใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ตํ่ากว่า 3.00 หรือ
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือ ปริญญาตรี ที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ที่มีพื้นฐานร่วมหรือใกล้เคียง และมีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์มาไม่น้อยกว่า 2 ปี
- แผน ก แบบ ก 2
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ตํ่ากว่า 2.50 หรือเป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริ ญญาตรีที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ที่มีพื้นฐานร่วมหรือใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ตํ่ากว่า2.50 หรือ
- เป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ที่มีพื้นฐานร่วมหรือใกล้เคียง และมีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์มาไม่น้อยกว่า 1 ปี ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรกรณีที่ต้องมีการตีความคุณสมบัติ หรือการผ่อนผันคุณสมบัติข้อใด จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วาด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แผน ก แบบ ก 1
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผานการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้
- สําหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- แผน ก แบบ ก 2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ตํ่ากว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้
- สําหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการหรือนําเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นําเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว