วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์)
- Master of Science (Applied Statistics)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (สถิติประยุกต์)
- M.Sc. (Applied Statistics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
มุ่งมั่นสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถด้านสถิติขั้นสูง เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผ่านกระบวนการแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนตลอดจนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อให้สามารถถ่ายทอด พัฒนาองค์ความรู้ และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางสถิติในการปฏิบัติงาน การแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของการมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ การเคารพในสิทธิของผู้อื่น ความเสียสละ และจรรยาบรรณในวิชาชีพทางสถิติ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาในทุกด้านและสามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1 พิสูจน์หลักการและทฤษฎีสถิติขั้นสูงได้อย่างถูกต้อง
- PLO 2 ออกแบบกระบวนการวิจัยเชิงสถิติเพื่อแก้ปัญหาด้านอุตสาหกรรมภาคการผลิต หรือด้านการแพทย์ หรือนโยบายภาครัฐ
- PLO 3 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางสถิติขั้นสูงเพื่อแก้ปัญหาด้านอุตสาหกรรมภาคการผลิต หรือด้านการแพทย์ หรือนโยบายภาครัฐ
- PLO 4 เลือกใช้เครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ทางสถิติเพื่อการจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
- PLO 5 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการและแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
- PLO 6 สื่อสารและนำเสนอผลงานทางวิชาการทางสถิติได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
- PLO 7 แสดงออกถึงการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 1
36
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
– สัมมนา*
2
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
6
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
12
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
18
หน่วยกิต
– สัมมนา*
2
หน่วยกิต
* เป็นวิชาบังคับแต่ไม่นับหน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
ตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม
- แผน ก แบบ ก1
- มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
- มีพื้นฐานความรู้วิชาคณิตศาสตร์หรือสถิติระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
- ผ่านการทดสอบความรู้พื้นฐานทางสถิติที่กำหนดโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แผน ก แบบ ก2
- มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
- มีพื้นฐานความรู้วิชาคณิตศาสตร์หรือสถิติระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556
หมายเหตุ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอาจกำหนดเกณฑ์คัดเลือกเพิ่มเติมและประกาศให้ทราบในแต่ละปี
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ.2556 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แผน ก แบบ ก 1
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- แผน ก แบบ ก 2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
รายชื่อบุคลากร
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติ)
- Master of Science (Statistics)
ชื่อย่อ
- วท.ม. (สถิติ)
- M.Sc. (Statistics)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- ก แบบ ก 2 จำนวน 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
มุ่งมั่นสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถด้านสถิติขั้นสูง เพื่อให้สามารถถ่ายทอด พัฒนาองค์ความรู้ และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางสถิติในการปฏิบัติงาน การแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของการมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ การเคารพในสิทธิของผู้อื่น ความเสียสละ และจรรยาบรรณในวิชาชีพทางสถิติ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
- มีคุณธรรม จริยธรรม
- มีคุณธรรม จริยธรรม และซื่อสัตย์สุจริตในการเรียน และการทำงาน
- มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
- มีวุฒิภาวะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เคารพในสิทธิ คุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- เคารพกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพสถิติ
- มีความรู้
- มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาวิชาสถิติขั้นสูง
- มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ ทักษะ และเครื่องมือทางสถิติที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา
- มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการสถิติ และการประยุกต์ใช้สถิติในบริบทต่าง ๆ
- มีความสนใจในการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความชำนาญทางสถิติอย่างต่อเนื่อง
- มีประสบการณ์ในการวิจัยและ/หรือพัฒนางานวิจัยทางสถิติขั้นสูง
- สามารถบูรณาการความรู้ในวิชาสถิติร่วมกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ให้เกิดประโยชน์คุณค่า และเกิดการพัฒนาในหัวข้อวิจัย/ประเด็นปัญหาต่าง ๆ
- มีทักษะทางปัญญา
- มีความสามารถในการคิด และวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ
- มีความสามารถในการค้นคว้า ตีความ และรวบรวมองค์ความรู้ทางสถิติ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และทำความเข้าใจในประเด็นปัญหา
- มีความสามารถในการเลือกใช้วิธีการทางสถิติในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
- มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- มีความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาไทย และภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถแก้ไขปัญหา หรือรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือผู้ตาม
- มีความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม
- มีภาวะความเป็นผู้นำ สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสมในทุกสถานการณ์
- ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในวิชาชีพทางสถิติ
- มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ และการทำงานทางสถิติ
- มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาโดยการใช้สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการทางสถิติ
- มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตลอดจนมีความสามารถในการเลือกใช้สื่อและการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
- มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีทางการสื่อสารต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
36
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 1
36
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
– สัมมนา*
2
หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
36
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับ
6
หน่วยกิต
– หมวดวิชาบังคับเลือก
3
หน่วยกิต
– หมวดวิชาเลือก
9
หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์
18
หน่วยกิต
– สัมมนา*
2
หน่วยกิต
*ลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับหน่วยกิต
แผนการศึกษา
เกณฑ์การรับเข้า
ตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม
- แผน ก แบบ ก1
- มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
- มีพื้นฐานความรู้วิชาคณิตศาสตร์หรือสถิติระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
- ผ่านการทดสอบความรู้พื้นฐานทางสถิติที่กำหนดโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แผน ก แบบ ก2
- มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
- มีพื้นฐานความรู้วิชาคณิตศาสตร์หรือสถิติระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556
หมายเหตุ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอาจกำหนดเกณฑ์คัดเลือกเพิ่มเติมและประกาศให้ทราบในแต่ละปี
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ.2556 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แผน ก แบบ ก 1
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- แผน ก แบบ ก 2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว