ประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ของการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2563 แบบออนไลน์

21
สิงหาคม
2563

"

คณบดี

อัญชนา ประเทพ

ประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ของการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2563 แบบออนไลน์

สวัสดีค่ะ บุคลากรชาวคณะวิทยาศาสตร์ ทุกท่าน

สำหรับสัปดาห์นี้ เราได้เปิดตัวงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2563 แบบออนไลน์ อย่างสมบูรณ์แบบ ตามที่ได้สื่อสารกันมาตลอด วันนี้สำเร็จเป็นรูปเป็นร่างในแบบออนไลน์ที่ถือว่าเป็นครั้งแรกของเรา รวมถึงเป็นที่แรกของประเทศ…สำหรับการจัดนิทรรศการแบบออนไลน์ ในรูปแบบเกมส์ซึ่งได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี และอยากถือโอกาสประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเว็บไซต์ https://sciweek.sci.psu.ac.th โดยทางทีมงานได้มีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เราเป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สำคัญกับนักเรียนในพื้นที่ภาคใต้โดยนิทรรศการออนไลน์ได้เปิดให้ร่วมสนุกกันตั้งแต่วันที่ 17-31 สิงหาคม 2563 และในวันที่ 18 สิงหาคม ที่ผ่านมา ทางคณะฯ ก็ได้จัดการพิธีถวายพานพุ่มสักการะพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย แบบออนไลน์ซึ่งมีผู้ติดตามจำนวนมากถือเป็นการปรับรูปแบบการทำกิจกรรมที่ทำให้เห็นถึงศักยภาพของพวกเราที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นองค์กรที่พร้อมตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (agility organization)

หลายท่านเข้าเว็บไซต์ https://www.sci.psu.ac.th ก็จะได้เห็นรูปแบบเว็บไซต์ใหม่ ซึ่งตอนนี้ทีมพัฒนายังคงต้องพัฒนาเพื่อเป็นสื่อที่สำคัญในการรวบรวมเนื้อหาต่าง ๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น  ซึ่งในเว็บจะพัฒนาในรูปแบบที่รับชมได้ง่ายและสามารถเชื่อมโยงในแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งการพัฒนารูปแบบการสื่อสารถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในยุคนี้ วันนี้เรามีแพลตฟอร์มออนไลน์ครบทุกรูปแบบ ซึ่งการสร้างเนื้อหา (ซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญ) ยังคงต้องรบกวนทางบุคลากร คณาจารย์ นักวิจัย ที่ต้องให้ความรู้ เรายังคงต้องสร้าง visibility ให้หลายคนรู้จักเราอย่างต่อเนื่อง ความเก่งของคณะวิทยาศาสตร์ต้องถูกถ่ายทอดและสื่อสารออกไป ซึ่งต้องขอบคุณทุกท่านที่ให้การตอบรับสื่อรูปแบบนี้เป็นอย่างดี รวมถึงการมีพื้นที่ให้สามารถสื่อสารสายตรงมาที่คณบดีได้ที่ https://www.sci.psu.ac.th/news/category/from-administration/#DirectToTheDean

นอกเหนือจากความเก่งของบุคลากรของเรา…ในด้านงานวิชาการ งานวิจัยและบริการวิชาการแล้ว ยังมีบุคลากรอีกหลายท่านที่มีความสามารถทางด้านกีฬา โดยต้องขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.โอภาส บุญเกิด ที่ได้รับรางวัล TOP 10 Men’s Overall อันดับที่ 3 รวมชาย เวลารวม 12:24:14 การวิ่งเทรลระยะ 80.5 กิโลเมตร รายการ CM6 เชียงใหม่ ประเทศไทย ซึ่งเป็นรายการระดับประเทศ ทางคณะฯ มีแนวคิดในการสนับสนุนในรูปแบบของอุปกรณ์หรืออื่น ๆ ในการร่วมแข่งขันเพื่อส่งเสริมให้ทุกท่านได้ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพกัน เสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในองค์กร และยังเป็นการเสริมสร้าง visibility ให้กับคณะฯ อีกด้วย…สำหรับรูปแบบการสนับสนุนขอให้ติดตามกันต่อไปนะคะ

อีกเรื่องที่สำคัญของสัปดาห์นี้ว่าด้วยเรื่องการทบทวนแผนกลยุทธ์ของคณะวิทยาศาสตร์….เราได้เริ่มกันตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม และจะไประดมสมองกันเพิ่มเติมในวันเสาร์-อาทิตย์นี้…เรามีวิสัยทัศน์ที่จะเป็น 1 ใน 3 ของประเทศในปี 2566 และ 1-5 ของอาเชี่ยน ในปี 2570 …นอกจากการปรับโครงสร้างขององค์กรแล้ว เรายังมีความจำเป็นที่จะต้องปรับ Mindset (Inward mindset VS outward mindset: The Arbinger Mindset model) ของคนในองค์กรด้วย…คณะวิทยาศาสตร์ของเราเป็นองค์กรที่มีความหลากหลายและซับซ้อน…แต่ความเก่งที่เรามีอยู่จะช่วยทำให้เราไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้...ความท้าทายที่อยากจะสื่อสารก็คือเรารู้หรือเปล่าว่าเราเป็นส่วนไหนขององค์กร…เรามีความเก่งเรื่องอะไร…และเรื่องที่ว่าจะมาช่วยกันขับเคลื่อนให้เราเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ หรือดีกว่านั้นได้อย่างไร…ทุกความคิดเห็นมีคุณค่า…ท่านช่วยคณะวิทยาศาสตร์อยู่ตรงหน้างานไหน…มาช่วยกันปักธงให้กับคณะวิทยาศาสตร์ของเรานะคะ เรื่องนี้คงต้องสื่อสารและหารือกันอยู่พอสมควร…แต่อย่างที่เรียน…ทุกท่านสามารถสื่อสาร และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์ได้ผ่านท่านผู้บริหารที่กำกับดูแลในหน้างานนั้น ๆ หรือที่หัวหน้าสาขา ฯ ทั้ง 4 สาขา ของพวกเรานะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

ระบบสื่อสาร UC (Zoom Phone)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ระบบการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการ (MOU/MOA)

MOU

(ระบบเดิม)

MOU/MOA

(ระบบใหม่ : ระยะทดลองใช้)