งานวิจัยชี้ พืชกระท่อม ต้านซึมเศร้า ช่วยรักษาอาการพาร์กินสัน

SHARE
TWEEET
EMAIL

ตามที่ประเทศไทยได้มีการปลดล็อค ให้พืชกระท่อมไม่เป็นยาเสพติดให้โทษอีกต่อไป หลังเริ่มมีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมานั้นนับได้ว่าเป็นผลดีสำหรับการที่ประเทศไทยจะได้นำพืชกระท่อมมาต่อยอดทางด้านงานวิจัย ทางด้านคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย รศ.ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ และ ผศ.ดร.ดาร์เนีย เจ๊ะหะ ได้มีการศึกษาพบว่าพืชกระท่อมช่วยต้านอาการซึมเศร้า จากการทดลองและบันทึกคลื่นสมองในหนูทดลอง และได้เผยแพร่ผลการวิจัยไปในระดับนานาชาติ และกำลังเป็นที่สนใจ ขณะนี้ทีมงานกำลังทำการวิจัย ร่วมกับแพทย์ด้านระบาดวิทยา ศึกษาผู้ที่ใช้พืชกระท่อม ในภาคใต้เพื่อบำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด

ผลการวิจัยล่าสุดที่เป็นไฮไลต์ ในขณะนี้ คือผลการวิจัยในสัตว์ทดลองที่ชี้ว่า พืชกระท่อม  ช่วยต้านอาการซึมเศร้า บรรเทาอาการโรคพาร์กินสันได้ โรคสมองเสื่อมชนิดนี้มีอัตราการเกิดสูงถึง 1 ใน 3 ของโรคสมองเสื่อมทั้งหมด (อันดับหนึ่งคือโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีจำนวน 2 ใน 3) ผลวิจัยนี้นับว่าเป็นความหวังและโอกาสที่จะนำพืชกระท่อมไปใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าได้อีกมาก โดยได้มีการวิจัยในหนูทดลอง ที่ชี้ว่าพืชกระท่อม แก้อาการซึมเศร้าได้ โดยวิเคราะห์จากรูปแบบคลื่นสมองของหนูทดลอง และพฤติกรรมของหนู พบว่าเมื่อให้หนูทดลองว่ายน้ำ หนูที่ได้รับสารจากพืชกระท่อม จะมีรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบแอคทีฟ ไม่เซื่องซึมหรือหยุดนิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารสกัดจากใบกระท่อม  ซึ่งจะได้มีการศึกษาในมนุษย์ต่อไป

สำหรับงานวิจัยก่อนหน้าที่มีผลการวิจัยจากการทดลอง ที่น่าสนใจ นั้นคือสารจากพืชกระท่อมสามารถบรรเทาอาการติดยาเสพติดได้  การปลดล็อคพืชกระท่อม เป็นโอกาสที่ดีที่จะสามารถทำให้ทีมวิจัยร่วมก้บ ทีมงานระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ ศ. พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และ ดร.ดาริกา ใสงาม วางแผนทำการศึกษาในผู้ที่ใช้พืชกระท่อม เพื่อบำบัดอาการเสพติด เฮโรอีนและยาบ้า ในผู้ที่เคยเสพยาเสพติดและใช้พืชกระท่อมเพื่อบำบัดอาการเสพติด (เมื่อต้องการเสพ จะเคี้ยวใบกระท่อมลดอาการ) พื้นที่ที่ทำการศึกษา คือที่ อ.จะนะ จ.สงขลา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง และ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง จำนวนประมาณ 90 ราย การวิจัยนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาโครงการวิจัยในมนุษย์ตามหลักจริยธรรมการวิจัยเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงใดๆ ต่ออาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ และจะไม่มีการให้ผู้ที่ไม่เคยใช้พืชกระท่อมมาก่อนทดลองใช้ โดยเชื่อว่าผลจากการทดลอง จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนไข้ต่อไป

SHARE THIS STORY
SHARE
TWEEET
EMAIL

RELATED STORIES