รศ.ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร คว้า 1 ใน 3 สตรีที่ได้รับรางวัล จากโครงการทุนวิจัย L’OREAL เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
- รางวัล
- 863
วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2565) ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ ดิ แอทธินี โฮเต็ล กรุงเทพมหานคร ได้มีการจัดงานแถลงข่าว โครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2565 โดยมีคุณอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรและสื่อสารสัมพันธ์ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ประธานในพิธี ได้ประกาศรายชื่อ สตรีในงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับทุน โดยในครั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต้องขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร หลักสูตรชีววิทยา สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่ได้รับทุนในสาขาชีวภาพ ในงานวิจัย “การบูรณาการคุณลักษณะทางนิเวศสรีรวิทยาของหญ้าทะเลเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศและความสามารถในการกักเก็บคาร์บอน”
โดยลอรีอัลในฐานะบริษัทที่ให้ความสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์ และการทำงานด้านสนับสนุนและเสริมสร้างพลังสตรี โครงการลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ จึงเป็นหนึ่งในโครงการที่ลอรีอัลให้ความสำคัญในการดำเนินงานทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญและเป็นความหวังของมวลมนุษยชาติ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์นอกจากต้องใช้ความมานะอุตสาหะในการคิดค้นและวิจัยแล้ว ยังต้องการมุมมองทางวิทยาศาสตร์ที่กว้างขึ้น และสตรีจะมีบทบาทสำคัญในการเปิดมุมมองใหม่ๆ ได้ ทางลอรีอัลจึงเชื่อว่า โลกต้องการวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต้องการสตรี
สำหรับงานวิจัยของ รศ.ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร “การบูรณาการคุณลักษณะทางนิเวศสรีรวิทยาของหญ้าทะเลเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศและความสามารถในการกักเก็บคาร์บอน” ได้วิจัยเกี่ยวกับหญ้าทะเลที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บนที่มีประสิทธิภาพจัดเป็นหนึ่งในระบบนิเวศคาร์บอนสีซึ่งมีบทบาทโดดเด่นในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แหล่งหญ้าทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถกักเก็บคาร์บอนได้สูง คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ทว่าปัจจุบันพื้นที่หญ้าทะเลที่สมบูรณ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ประเทศไทยมีโครงการฟื้นพหญ้าทะเลมายาวนาน แต่ก็ยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมและติดตามระยะยาวอย่างเป็นระบบงานวิจัยนี้นับเป็นโครงการแรกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านนิเวศสรีรวิทยาเพื่อเพิ่มความสำเร็จในการฟื้นระบบนิเวศหญ้าทะเล ทีมผู้วิจัยเลือกศึกษาเปรียบเทียบพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลที่สมบูรณ์และแหล่งหญ้าทะเลที่มีโครงการพื้นฟู โดยมุ่งเน้นศึกษาหญ้าคาทะเล ซึ่งมีศักยภาพกักเก็บคาร์บอนสูงและเป็นหนึ่งในชนิดหลักที่ใช้พื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลในประเทศไทยผลการศึกษาจากงานวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนการฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้าทะเล ช่วยระบุสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึงปัจจัยคุกคาม เพื่อเพิ่มโอกาสและความสำเร็จในการฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้าทะเล นำไปสู่การลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และเป็นแนวทางในการจัดการทรัพยากรหญ้าทะเล เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนต่อไป นอกจากนี้ การฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้าทะเลยังเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่ได้รับความสนใจทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพราะไม่เพียงจะเพิ่มศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ชายง แต่ยังนำไปสู่การเพิ่มแหล่งที่อยู่ของสัตว์ทะเล การรักษาระดับธาตุอาหารในน้ำและการลดการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการระดับนานาชาติ สามารถนำไปต่อยอดการฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่อื่นๆ ได้ต่อไป แสดงความยินดีกับอาจารย์ด้วยครับ