นักฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. อธิบายถึงการหายไปของ ‘เรือดำน้ำไททัน’ ด้วยวิทยาศาสตร์ ซึ่งตรงตามความเป็นจริง!!
- อื่น ๆ
- 1,690
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา Asst. Prof. Dr. Helmut Josef Durrast อาจารย์ประจำหลักสูตรฟิสิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้ความเห็นทางด้านฟิสิกส์ในประเด็นการหายไปของเรือดำน้ำไททัน ซึ่งในเวลาต่อมาได้ค้นพบเศษซากเรือบริเวณใกล้กับเรือไททานิค ว่า ปัจจัยสำคัญและน่ากลัวที่สุดสำหรับการลงไปใต้มหาสมุทรนั้นคือความดัน ถ้าออกแบบเรือโดยใช้วัสดุที่ไม่ดีนั้น เมื่อดำลงไปอาจจะเกิดแรงดันปะทะเรือและเรือดำน้ำโดนบีบจนระเบิดได้ ซึ่งจากเรือดำน้ำไททัน จะเห็นได้ว่าเรือได้ออกแบบพื้นที่เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเรือไททานิค ซึ่งในปี 2021 เรือดำน้ำนี้ได้ลงไปใต้ท้องทะเลแล้ว ซึ่ง ณ ขณะนั้นเนื่องจากวัสดุยังใหม่ การลงน้ำในความลึก 3800 เมตร เรืออาจจะโดนแรงดันปะทะเข้า แต่ด้วยวัสดุที่ยังใหม่ อาจจะรองรับแรงดันได้ แน่นอนว่าต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งโดยบีบอัด ซึ่งในครั้งนี้เมื่อน้ำเรือดำน้ำลงไปสำรวจอีกครั้งนั้น ความเสื่อมของวัสดุที่เกิดขึ้นจากการดำน้ำครั้งแรก อาจจะทำให้รองรับแรงดันไม่ได้ จนเกิดหายนะตามที่เป็นข่าว
โดย Asst. Prof. Dr. Helmut Josef Durrast ยังบอกอีกว่า จริงๆ แล้วถ้าเราออกแบบวัสดุให้แข็งแรง รองรับแรงดันได้นั้น คงไม่เกิดอุบัติเหตุเนื่องจากมีเรือดำน้ำชื่อว่า Trieste เคยลงไปที่ความลึก 11000 เมตร โดยกลับขึ้นมาบนพื้นผิวน้ำอย่างปลอดภัย ซึ่งต้องขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้สูญเสียจากเรือดำน้ำไททันในครั้งนี้ด้วย