คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดแถลงข่าวจัดประชุมวิชาการนานาชาติ STT49 และค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ TYSF19
- ความร่วมมือ, วิจัย
- 1,865
คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดแถลงข่าวการจัดประชุมวิชาการนานาชาติทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 49 และค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งชาติ ครั้งที่ 19
การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นในหัวข้อ “SDGs FOR THE BENEFIT OF MANKIND” ระหว่างวันที่ 23 – 25 มกราคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี จังหวัดสงขลา โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจะเสด็จฯ เป็นประธานเปิดการประชุมในวันที่ 23 มกราคม 2564 และจะประทับรับฟังปาฐกถาพิเศษจากนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกและนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2566 และเสด็จฯเยี่ยมชมนิทรรศการด้วย
ศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดการเรียนการสอนมานับถึงปีนี้ เป็นปีที่ 55 ในหัวข้อ SDGs FOR THE BENEFIT OF MANKIND โดยเฉพาะในปีนี้เป็นเรื่องน่ายินดีที่อาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ของเรา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วัชรินทร์ รุกขไชยศิริกุล นักวิจัยดีเด่นระดับชาติ ประจำปี 2566 ได้บรรยายพิเศษในครั้งนี้ ที่สำคัญคณะวิทยาศาสตร์ ของเราได้ร่วมรูปแบบการจัดงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN’s SustainableDevelopment Goals: SDGs) โดยได้ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับการจัดงานอย่างยั่งยืน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ ในการลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั่วโลกรวมถึงรัฐบาลรณรงค์ประเด็นนี้ การประชุมครั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์จะนำเสนอผลงานการวิจัยของอาจารย์และนักศึกษาจากสาขาวิชาต่างๆ รวมทั้ง Plenary Speakers ที่น่าสนใจ ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมรวมถึงจังหวัดสงขลาที่ได้ต้อนรับนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก ในครั้งนี้
ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การจัดการประชุมในครั้งนี้ สมาคมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ครู นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ความเชี่ยวชาญทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ฯ ระหว่างกันในระดับนานาชาติ ซึ่งในครั้งนี้มีนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้สนใจทั้งภายในและต่างประเทศ 18 ประเทศเข้าร่วม กว่า 500 คน เพื่อนำเสนอผลงานวิจัย และเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังข้อมูลใหม่ๆ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทั้งชาวไทยและต่างชาติ มีการนำเสนอผลงานวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติ กว่า 400 ผลงาน โดยสามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://stt49.scisoc.or.th
ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติฯ และ ค่ายนักวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ ม.อ. ได้เป็นเจ้าภาพซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้รับความประทับใจกลับไป ก็ขอเชิญชวนพี่ๆ สื่อมวลชนได้ร่วมทำข่าวและเก็บภาพบรรยากาศทั้งในวันแถลงข่าวและในวันจัดกิจกรรม เพื่อเป็นการสร้างนักวิทยาศาสตร์ที่จะมาแก้ไขปัญหาของประเทศชาติต่อไป
คือ การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จึงได้ยกระดับของการประชุมจากเดิมระดับชาติเป็นระดับนานาชาติ เพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถเข้ามาร่วมประชุมเป็นจำนวนมากได้ เรียกชื่อการประชุมว่า The 46th International Congress on Science, Technologyand Technology-based Innovation (STT46) โดยมีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุม ซึ่งได้พิจารณาเลือกหัวข้อการประชุม คือ “Power of Science to Achieve SDGs” “พลังของวิทยาศาสตร์สู่เป้าหมายการพัฒนาแบบยั่งยืน” เป็นหัวข้อที่สำคัญตรงตามวัตถุประสงค์ของสหประชาชาติ ซึ่งจะทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้นและยั่งยืน
ด้านรองคณบดีฝ่ายพันธกิจเพื่อสังคมและกิจการพิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิติพล นวลทอง ประธานค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 19 นอกจากงานประชุมวิชาการนานาชาติแล้ว คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ยังได้รับเกียรติจากสมาคมฯ เป็นเจ้าภาพค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 19 (The 19th Thailand Young Scientist Festival : TYSF19) ระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2566 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความรู้ ความสามารถ ทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการประกวดทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่หลากหลาย โดยมีหัวข้อการประกวด 6 ประเภท ได้แก่ ประกวดวาดภาพการ์ตูนทางวิทยาศาสตร์ การประกวดวาดภาพจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ การประกวดกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การประกวดตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนักวิทยาศาสตร์น้อย การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีครูและนักเรียนจากทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 700 คน โดยทุกท่านสามารถติดตามข่าวสารของค่ายผ่านทางเว็บไซต์ https://tysf19.sci.psu.ac.th
การจัดงาน STT49 เป็นการจัดประชุมนานาชาติเต็มรูปแบบ โดยการบรรยายทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ มีวิทยากรรับเชิญและผู้เสนอผลงานจากในและต่างประเทศทั่วทุกภูมิภาคของโลกโดยจะแบ่งออกเป็น 6 session ย่อยทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและนวัตกรรม Symposium เฉพาะทางอีก 11 รายการ สำหรับรูปแบบการนำเสนอ จะเป็นการบรรยายแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ที่บริเวณจัดงาน รวมถึงค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 19 จะมีการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ 6 ประเภท เพื่อคัดเลือกตัวแทนในการแข่งขันระดับโลกต่อไป สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ facebook ของคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. หาดใหญ่