สื่อสารจากการร่วมกิจกรรม The Age of Fake NEWS และแสดงความยินดีกับบุคลากร ที่ส่งผลงานในเวทีแนวปฏิบัติที่ดี ระดับวิทยาเขตหาดใหญ่ ประจำปี 2567

6
MAY
2024

"

คณบดี

อัญชนา ประเทพ

สื่อสารจากการร่วมกิจกรรม The Age of Fake NEWS และแสดงความยินดีกับบุคลากร ที่ส่งผลงานในเวทีแนวปฏิบัติที่ดี ระดับวิทยาเขตหาดใหญ่ ประจำปี 2567

สวัสดีค่ะบุคลากรทุกท่าน

เข้าสู่เดือนพฤษภาคม หยุดยาวช่วงปิดเทอมเช่นนี้หวังว่าพวกเราพอจะได้พักผ่อนกันบ้างนะคะ เข้าใจว่า 2 อาทิตย์ที่จะถึงนี้ทางสาขาจะมีการออกไปทำกิจกรรมกันของสาขาทั้งในบริบทของการสร้างความผูกพันธ์และการทำงานร่วมกันทั้งในเรื่องของการพัฒนาหลักสูตร รายวิชา และอื่น ๆ ยังงัยรบกวนฝากเรื่องของวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ได้มีการสื่อสารไปก่อนหน้านี้ไว้ด้วยนะคะ แล้วยังงัยเราจะมีการทำงานร่วมกันโดยละเอียดกับสาขาอีกครั้งค่ะ

สำหรับสื่อสารสัปดาห์นี้ ขอนำเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้นในเวทีเสวนาพิเศษ The Age of ake NEWS ณ อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC1) ที่คณะฯ ร่วมกับ สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ อพวช และ TYSA ที่ได้นำเสนอในเรื่องของปัญหาอยู่ในปัจจุบันก็คือ “ข่าวปลอม” และ “ข่าวบิดเบือน” เราจะรับมืออย่างไร ในการเสวนาในครั้งนี้ ได้มีการยกตัวอย่างกรณีที่คณะฯ ได้ทำรายการ Science Facts ที่เราได้มีการสื่อสารความรู้ผ่านวิทยาศาสตร์กว่า 100 เรื่องในตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ร่วมกับคณาจารย์และนักวิจัยจำนวนมาก ซึ่งครั้งนี้ วิทยากรจากรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ ได้ชื่นชมทางคณะฯ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการตอบคำถามที่เกิดขึ้นในสังคมโดยนำศาสตร์ของวิทยาศาสตร์มาให้ความรู้แก่สังคม ก็ถือโอกาสขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วม และในอนาคตคณะฯ จะดำเนินการทำข้อมูลที่เป็นคลิปสั้นๆ ที่ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป ยังงัยคงต้องรบกวนทุกท่านเพิ่มเติมด้วยนะคะ

และขอแสดงความยินดีกับบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ฯ ที่ส่งผลงานในเวทีแนวปฏิบัติที่ดี ระดับวิทยาเขตหาดใหญ่ (Good Practice) ประจำปี 2567 ขึ้น เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 และได้รับคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดี ระดับวิทยาเขตหาดใหญ่ในรูปแบบ Oral Presentation และ Poster Presentation สำหรับ นางสาวธัญญาภรณ์ บุญเพ็ชร และ นางสาวธนภัทร สุระกุล งานสนับสนุนการวิจัย ที่ได้รับคัดเลือกระดับวิทยาเขต โดยมี รศ.ดร.พิมลศรี มิตรภาพอาทร กับผลงานการประยุกต์ใช้แนวคิด LEAN ในการปรับปรุงกระบวนการประเมินประเภทของโครงการวิจัย ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ นางสวลี บัวศรี และนางสาวธนภัทร สุระกุล งานสนับสนุนการวิจัย ที่ได้รับคัดเลือกระดับวิทยาเขต โดยมี นางสาวธัญญาภรณ์ บุญเพ็ชร เป็นที่ปรึกษา กับผลงาน การปรับปรุงกระบวนการจัดตั้งหน่วยวิจัย ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้แนวคิด LEAN ถือเป็นเรื่องดี ๆ ที่บุคลากรของเราได้ไปแสดงศักยภาพในเวทีต่าง ๆ ทั้งยังเป็นการพัฒนางานต่าง ๆ ของเราให้คมขึ้นเรื่อย ๆ นะคะ ได้ทั้งพัฒนางาน พัฒนาตน และองค์กรไปด้วยกันค่ะ

อาทิตย์ที่ผ่านมามีโอกาสได้ไปเข้าร่วมการจัดสัมมนา 2023TQA winner conference ร่วมกับทีมบริหาร หัวหน้างานและน้อง ๆ จำนวนนึง ได้เรียนรู้จากองค์กรที่ได้รับรางวัลจากหลายภาคส่วนทั้งเอกชน รัฐ รวมไปถึงภาคการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัย ซึ่งเขื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์ของเราสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศตามกรอบ TQA เช่นเดียวกัน แต่ละที่มีจุดเด่นและจุดเข็งแตกต่างกันออกไป และมีเป้าหมายที่ชัดเจนมาก ล้อตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดมากคณะวิทยาศาสตร์ของเราได้ EdPEX 300 มา ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความสามารถและศักยภาพของบุคคลากรและองค์กรของเรา ก้าวต่อไปของคณะวิทยาศาสตร์คือ TQC ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาองค์กรของเราให้เข้มแข็ง และยั่งยืนเพิ่มเติมขึ้นได้เป็นอย่างดี คืบหน้าอย่างไรเรื่องนี้จะค่อย ๆ นำเรียนพวกเราเพิ่มเติม เนะคะ ยังงัยเดี๊ยวเรามาช่วยกันคลี่เรื่องของวิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยมเพิ่มเติมกันอีก และความสำเร็จเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากพวกเราทุก ๆ คน ค่ะ จะขอจบด้วย ค่านิยมขององค์กรที่ว่าด้วย SCI PSU นะคะ S:Sustainability, C:Collaboration, I:innovation, P:Professionalism, S:Social responsibility และ U:Unity มาร่วมด้วยช่วยกันนะคะ

อย่างลืมดูแลสุขภาพตัวเองกันนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

ระบบสื่อสาร UC (Zoom Phone)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ระบบการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการ (MOU/MOA)

MOU

(ระบบเดิม)

MOU/MOA

(ระบบใหม่ : ระยะทดลองใช้)