นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ชี้ !!! วิกฤตหมอกควันไฟจากประเทศเพื่อนบ้านน่าเป็นห่วง

SHARE
TWEEET
EMAIL

Asst. Prof. Dr. HELMUT JOSEF DURRAST อาจารย์ประจำหลักสูตรฟิสิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากการได้ติดตามข้อมูลและเฝ้าระวังสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เผยข้อมูลที่น่าเป็นห่วงในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จะเห็นค่า PM 2.5 สูงเข้าขั้นวิกฤต ในพื้นที่จังหวัดสงขลารวมถึงภาคใต้ตอนล่าง โดยได้เผยข้อมูลสำคัญจากการติดตามเรดาห์ตลอด 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ชี้ฝุ่นควันการเผาไหม้จากบริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นปัจจัยสำคัญ พร้อมแนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้ประชาชนให้ป้องกันอันตรายจาก PM 2.5 ให้เตือนประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาและภาคใต้ตอนล่าง งดออกกำลังการกลางแจ้งเฝ้าระวังผู้สูงอายุควรสวมหน้ากากอนามัย โดยจากการเก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา จากเรดาห์ย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลาพบค่า PM 2.5 ที่ 80 และสูงสุดอยู่ที่ 153 ซึ่งถือว่าเข้าขั้นวิกฤต รวมถึงเรดาห์บริเวณพื้นที่คอหงส์ พบ ค่า PM 2.5 ที่ 87 และสูงสุดอยู่ที่ 178 ซึ่งแรงลมมีผลต่อสำคัญต่อสภาพอากาศ โดยเมื่อดูข้อมูลรวมของเดือนกรกฎาคม จะเห็นว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น คุณภาพอากาศจากข้อมูลจะอยู่ในโซนสีแดง ซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกเตือนประชาชนในพื้นที่

ทั้งนี้ Asst. Prof. Dr. HELMUT JOSEF DURRAST ได้กล่าวพร้อมข้อมูลเรื่องลม จะเห็นจากการเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา ว่าในช่วงนี้ แรงลมพัดจากทางประเทศอินโดนีเซีย ผ่านอ่าวไทยไปทางใต้ตอนบน เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากเรดาห์ จะเห็นชัดเจนว่าภาคใต้ตอนล่างนั้น ลมพัดน้อย ปริมาณการระบายออกของ PM2.5 ยังคงอยู่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อประชาชน ซึ่งปริมาณฝุ่นควันในโซนสีแดง เราสามารถสังเกตใต้ผ่านสายตา ซึ่งจากการได้ถ่ายภาพมุมสูงจากเขาเล่ จุดชมวิวมุมสูง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาในช่วงเที่ยงของวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา ปริมาณหมอกควันสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าและเข้าขั้นวิกฤต ซึ่งต้องเฝ้าระวังแรงลม และสภาพอากาศ ทุก ๆ ระยะ ซึ่งคาดเดาไม่ได้ว่าวิกฤตดังกล่าวจะบรรเทาลงได้ในช่วงเวลาใด เนื่องจากตัวแปรสำคัญคือ การเผาไหม้จากบริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

โดยผลกระทบการเผาไหม้จากบริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งกระทบไปยังประเทศมาเลเซีย และ สิงคโปร์ เนื่องจากช่องโหว่ด้านกฎระเบียบทำให้ยากสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะลดการจุดไฟเพื่อแผ้วถางพื้นที่เกษตรกรรมของอินโดนีเซีย โดยจากการเก็บข้อมูลในหน่วยงานรัฐบาลที่ได้รับผลกระทบพบว่า ไฟดังกล่าวได้เผาพื้นที่หลายล้านไร่ในอินโดนีเซีย และส่งหมอกควันปกคลุมหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นประวัติการณ์

ด้าน Asst. Prof. Dr. HELMUT JOSEF DURRAST แนะนำให้ประชาชนเฝ้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าว ผ่านทางเว็บไซต์ https://waqi.info/ ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อประเมินคุณภาพอากาศในแต่ละวัน

SHARE THIS STORY
SHARE
TWEEET
EMAIL

RELATED STORIES