Related Goals:
  • 7
  • 12
  • 13

แสดงความยินดีกับคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ผ่านการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

SHARE
TWEEET
EMAIL

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา ในการประชุมคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)ครั้งที่ 5/2567 ได้มีประกาศจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ประกาศให้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization หรือCorporate Carbon Footprint: CCF) เพื่อรับรองข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรในช่วงระยะเวลา 1 ปี ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรมีอายุการรับรองเป็นระยะเวลา 1 ปี

สำหรับ CFO คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO หรือ Corporate Carbon Footprint: CCF) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่องค์การสามารถนำหลักการและข้อกำหนดไปใช้ในการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก การวัดปริมาณและการรายงานผลการปลดปล่อย

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง วัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า แบ่งเป็น 3 ประเภท (Scope) ดังนี้

SCOPE I: การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ที่อยู่กับที่ เผาไหม้ที่มีการเคลื่อนที่ กระบวนการผลิต การใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล ชีวมวล (ดินและป่าไม้)

SCOPE II: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Indirect Emissions) ได้แก่ ไฟฟ้าที่ถูกนำเข้าจากภายนอกเพื่อใช้งานภายในองค์กร พลังงานนำเข้าอื่น ๆ เช่น ไอน้ำ ความร้อน ความเย็น อากาศอัด

SCOPE III: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Other Indirect Emissions) ได้แก่ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากที่ระบุใน Scope I และ Scope II เช่น วัตถุดิบตั้งต้นที่ซื้อมา ของเสียจากกิจกรรมในองค์กร การขนส่งจากผู้ผลิตวัตถุดิบ การเดินทางที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กร การเดินทางของลูกค้าและผู้มาติดต่อ การขนส่งและกระจายสินค้า เป็นต้น

คาร์บอนฟุตพริ้นขององค์กร หรือ CFO สามารถประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท และทุกขนาด ซึ่งเป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการแสดงข้อมูลบัญชีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานระดับองค์กร อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงความยินดีกับคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ด้วยครับ

SHARE THIS STORY
SHARE
TWEEET
EMAIL

RELATED STORIES