ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในงานจิตอาสาผลิตน้ำดื่มแก่ผู้ประสบอุทกภัย และ การผลักดันการส่งเสริมการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการรู้วิทยาศาสตร์ของประชาชนในบทบาทของคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

30
NOV
2024

"

คณบดี

อัญชนา ประเทพ

ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในงานจิตอาสาผลิตน้ำดื่มแก่ผู้ประสบอุทกภัย และ การผลักดันการส่งเสริมการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการรู้วิทยาศาสตร์ของประชาชนในบทบาทของคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

สวัสดีค่ะบุคลากรท่าน

อาทิตย์นี้มาด้วยกันกับน้ำ เป็นกำลังใจให้กับพวกเราก่อนนะคะ เจอน้ำกันเยอะ ๆ ดูแลตัวเอง ครอบครัวและที่บ้านกันด้วย

ว่าด้วยเรื่องการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้คณะวิทยาศาสตร์ของเราเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตน้ำดื่ม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยร่วมกับทางมหาวิทยาลัยฯ และ มอบให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการน้ำดื่มไปบริจาคแก่ผู้เดือดร้อน หลังจากที่รับอาสากันมา ทางคณะก็ได้มีการจัดตั้งทีมทำงานเรื่องนี้จากทุก ๆ ฝ่าย รวมไปถึงพลังของนักศึกษา บุคลากร และจิตอาสา ทำให้สามารถผลิตน้ำได้จำนวน 20,000 ขวด ตอบสนองความต้องการจากหลาย ๆ ส่วนได้ และจากการประเมินสถานการณ์ ความต้องการและความสามารถในการผลิตของพวกเรา วันนี้ขยายเพิ่มเติมอีก 20,000 ขวด รวมเป็น 40,000 ขวด เชิญชวนทุกท่านนะคะ สามารถไปช่วยกันผลิตน้ำดื่มได้ที่ ศูนย์บริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน หรือบริเวณยามหน้าอาคาร วท. ขอบคุณพลังบวกและการเป็นผู้ให้จากพวกเราทุกคนนะคะ สำหรับบุคลากร และ นศ. ที่ประสบอุทกภัย เช่นเดิมทาง HR และงานพัฒนา นศ มีแนวทางในการดูแลพวกเรานะคะ ซึ่งเป็นแนวทางที่เราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง หากอย่างไร แจ้งมาทางคุณแอน HR หรือ คุณแฟร์ งานพัฒนา นศ ได้ เช่นเดียวกัน เบื้องต้นทีมบริหารขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านผ่านช่วงเวลานี้ ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยกันทุกคนนะคะ

มีอีกเรื่องที่อยากจะมาสื่อสารกันสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอน หรือ การส่งเสริมการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการรู้วิทยาศาสตร์ของประชาชน (Science Communication and Public Science Literacy) จัดโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่จะผลักดันการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ ในงาน STT 50 ที่ผ่านมา ผ่านการระดมความคิดด้านวิชาการการสื่อสารวิทยาศาสตร์จากหน่วยงานชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และนิเทศศาสตร์ โดยทางคณะวิทยาศาสตร์ของเราเอง ได้เริ่มมีการผลิตบทเรียนออนไลน์ และเพื่อผลักดันการทำหลักสูตร และ minor เรื่องของ science communication ออกมาบ้างแล้วด้วย เข้าใจว่าเรื่องนี้เองน่าจะเป็นเป้าใหญ่ของประเทศ ทางงานการศึกษา และหน่วยประชาสัมพันธ์ของเราได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องนี้กันด้วย ทราบว่าจะมีการผลักดันหลักสูตรที่เรียนพื้นฐานคณะวิทยาศาสตร์ 4 ปี แล้ว นิเทศศาสตร์ หรือ การสื่อสารเพิ่มเติม 2 ปี อาจจะยังมีการหารือกันเพิ่มเติม ยังงัยจะเรียนแจ้งพวกเรานะคะ และหากท่านไหนสนใจมาเติมแรง minor ไม่ว่าจะเป็น science communication หรือ ใด ๆ แจ้งมาได้ตลอดนะคะ

จะขอจบด้วยเรื่องที่คณบดีได้รับการ feedback ข้อแนะนำจากทางกรรมการประเมิน DE ท่าน อ.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ในวันศุกร์ที่ผ่านมา มีหลายประเด็นที่ได้รับคำแนะนำมา เรื่องนึงคือว่าด้วย คณะวิทยาศาสตร์เรา แตกต่างจากคณะวิทยาศาสตร์ที่อื่น ๆ อย่างไร niche differentiation ของเราคืออะไร น่าสนใจมากค่ะ strategic proposition ของเราคืออะไร big rock project ของเราคืออะไร เดี๊ยวจะไล่สรุปประเด็นแล้วพูดคุยกับพวกเราอีกครั้งนะคะ เรื่องนี้มองเร็ว ๆ อาจจะสอดคล้องกับเรื่องของ Supercluster SDG ที่ทางฝั่งวิจัยพยายามทำกันอยู่ด้วยส่วนนึง เดี๊ยวยังงัยมาแจ้งพวกเราเพิ่มเติมและคงเปิดพื้นที่สำหรับการทำงานเรื่องนี้กันด้วย

ยังงัยอย่างลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

ระบบสื่อสาร UC (Zoom Phone)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ระบบการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการ (MOU/MOA)

MOU

(ระบบเดิม)

MOU/MOA

(ระบบใหม่ : ระยะทดลองใช้)